การสร้างสมการพยากรณ์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตยางพารา

Main Article Content

สมภพ กาญจนะ
กาญจนา ดวดไธสง
ปลายฟ้า วงค์พินิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณผลผลิตยางพาราในชุมชนบ้านปวงตึก ตำบลตาตุม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งทำการศึกษาทั้งหมด 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) พื้นที่ปลูกยางพารา 2) การกรีดยางพารา 3) การใช้ปุ๋ยบำรุงก่อนกรีดและหลังกรีด 4) พันธุ์ยางพาราที่ปลูก 5) โรคและศัตรูยางพารา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความพึงพอใจของปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตยางพารา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปลูกยางพาราหรือผู้ทำสวนยางพาราที่มีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของสวนในเขตพื้นที่ตำบลตาตุม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 56 คน


ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 5 ปัจจัย มีความสัมพันธ์กับปริมาณผลผลิตยางพาราในระดับค่อนข้างสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเป็น 0.288 และสามารถพยากรณ์ปริมาณการผลิตได้ร้อยละ 53.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตยางพาราได้ ร้อยละ 53.7 และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ พบว่ามีเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้นที่สามารถพยากรณ์ปริมาณผลผลิตได้ ได้แก่ พันธุ์ยางพารา และการกรีดยางพารา ส่วนปัจจัยด้านพื้นที่ปลูกยางพารา การใช้ปุ๋ยบำรุงก่อนกรีดและหลังกรีด และโรคและศัตรูยางพารา ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตยางพาราได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


Y = 6.867 + 0.602X2 + 0.139X4


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


Z = 0.302Z2 + 0.181Z4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมาคมยางพาราไทย. (2557). ปริมาณการส่งออกยางพารา (แยกประเภท) ปี 2542-2557. [ออนไลน์].
สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564, จาก : http://www.thainr.com/uploadfile/20141002124
327.pdf.
สำนักงานพัฒนางานวิจัยการเกษตร. (2546). พันธุ์ยางพารา. [ออนไลน์]. สืบค้น 20 กรกฎาคม
2564, จาก : https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/para/controller/01-02.php.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2555). สถานการณ์สินค้าที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2555. [ออนไลน์].
สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564, จาก : http://www.oae. go.th/ewtadmin/ewt/oae_web/ download/journal/ trends2556.pdf.
กมลรัตน์ คงเหล่า. (2551). การปรับปรุงระบบกรีดเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางของยางพารา.
(วิทยานิพนธ์การศึกษาหลักสูตรปริญญา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
นิภาภรณ์ ชูสีนวน, สมคิด ดำน้อย, ก้องกษิต สุวรรณวิหก, สุรกิตติ ศรีกุล และวิรัตน์ ธรรมบำรุง.
(2560). การศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ยางแนะนํา เพื่อผลผลิตเนื้อไม้และผลผลิตน้ำยางในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน. วารสารวิชาการเกษตร. 35(2), 211-214.
สุคนธ์ทิพย์ เวียนมานะ, สุภาภรณ์ พวงชมภู และไพศาล กะกุลพิมพ์. (2557). ปัจจัยที่มีต่อปริมาณ
ผลผลิตยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารแก่นเกษตร. 42(1), 500-501.