การประเมินคุณภาพน้ำผิวดินของสระน้ำ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ฉัตรชัชชญาน์ โชติชญาณ์พงศ์
Pusita Kuchaiyaphum
Kanlayanee Kajsanthia

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตาม และวิเคราะห์คุณภาพน้ำผิวดินของแหล่งน้ำที่บริเวณต่างๆ 6 แหล่ง ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ. นครราชสีมา ทำการวิจัยระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึงกุมภาพันธ์ 2562 โดยศึกษาสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของน้ำ พบว่าอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และปริมาณโลหะ (เหล็ก และสังกะสี) ของน้ำผิวดินในทุกบริเวณที่ศึกษาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ ในขณะที่ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี และค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดของน้ำผิวดินในสระน้ำจุดที่ 2 ค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานอย่างไม่มีนัยสำคัญ ค่าดังกล่าวมีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมรอบแหล่งน้ำ ถึงแม้ว่าในสระน้ำภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานเริ่มมีความสกปรก  แต่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำโดยรวมเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามคุณภาพน้ำยังคงเหมาะกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ และไม่กระทบต่อระบบนิเวศ การประเมินคุณภาพน้ำนี้มีประโยชน์สามารถนำไปใช้ในการบริหารคุณภาพน้ำ การปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการบำบัดของเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

Pusita Kuchaiyaphum, Rajamangala University of Technology Isanniversity of Technology Isan

Department of Applied Chemistry

Faculty of Science and Liberal Arts

 

Kanlayanee Kajsanthia, Rajamangala University of Technology Isanniversity of Technology Isan

 

 

References

กัณธิตา ปวีณสกล พีรวัส ชินตระกูลชัย และธนศักดิ์ ช่างบรรจง (2558). ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินและคุณภาพน้ำผิวดิน ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม [ช้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารสัตวศาสตร์ประยุกต์. 8(2): 43-46.

กองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2562). คู่มือการปฏิบัติงานการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th/water

ทรงธรรม สุขสว่าง (2542). เทคนิคการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม, สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. 374.

มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์ และ มั่นรักษ์ ตัณฑุลเวศม์ (2551). เคมีวิทยาของน้ำและน้ำเสีย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาล

สัมฤทธิ์ มากสง, มนสินี ดาบเงิน, กาญจนา เชียงทอง, ธงชัย สอนเพีย และตรีสุคนธ์ เจริญชัยชาญกิจ (2563). การประเมินคุณภาพและการจัดการแหล่งน้ำร่วมกับชุมชนบ้านพุน้ำร้อน ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัด กาญจนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(6). doi: 10.14456/tstj.2020.81

อัณธิกา เสงี่ยมใจ (2562). คุณภาพน้ำผิวดินบริเวณรอบนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 15(1): 17-21.

อาทิตย์ อัศวสุขี และ สิรินารถ โมพันดุง (2014). การใช้เคลย์ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเสมือนเฟนตันเพื่อกำจัดสีน้ำทิ้งจากการย้อมผ้า. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(1), 21-29

APHA, AWWA, and WEF. (2012). Standard methods for the examination of the water and wastewater. 22ndedition. Washington D.C.: American Public Health Association.

Bhateria, R. and Jain, D. (2016) Water quality assessment of lake water: a review. Sustainable Water Resource Management. 2:161-173

Jurdi, M., Korfali, S.I.,Karahagopian, Y. & Davies B. (2002). Evaluation of Water Quality of the Qaraoun reservoir, Lebanon : Suitability for Multipurpose Usage. Environmental Monitoring and Assessment. 77, pp11-30.

Pawari, M.J. and Gavanda, S.M. (2013). Assessment of Water Quality Parameters: A Review. International Journal of Science and Research. 4(7): 1427-1431.

Rachon, P., Jindal, R., and Wichitsathian, B. (2012). Posttreatment of UASB Efflients of Tapioca Starch Wastewater Using Downflow Hanging Sponge System. Journal of Hazardous, Toxic and Radioactive Waste. 16(1): 9-17

Susilowati, S., Joko, S., Muhammad, M., Maridi, M. (2018). Dynamics and factors that affects DO-BOD concentrations of Madiun River. AIP Conference Proceeding. 2049 DOI: 10.1063/1.5082457

World Health Organization. (2014) Water resource quality. (Retrieved from: http://www.who.int/water_sanitation_health/resourches/resquality/em.