ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากรำข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากรำข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประชากร คือ รำข้าวพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 กลุ่มตัวอย่าง คือ รำข้าวจากบ้านสวายจีก บ้านสนวนนอก อำเภอเมือง และบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทำการศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัด ปริมาณสารโปลีฟีนอลรวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ดีพีพีเอช (DPPH) และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ (SPSS) พบว่าตัวทำละลายเมทานอลสามารถสกัดรำข้าวให้ระดับร้อยละผลผลิต (%yield) สูงที่สุดส่วนปริมาณสารโปลีฟีนอลรวมจะพบในสารสกัดรำข้าวจากบ้านสวายจีกมากที่สุด เท่ากับ 58.67 บ้านสนวนนอก เท่ากับ 39.70 และบ้านโคกเมือง เท่ากับ 32.70 mg GAE/g DW เมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีพีพีเอช(DPPH) โดยคิดเป็นร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระ (%Inhibition) พบว่าบ้านสนวนนอก เท่ากับ 95.17% บ้านสวายจีก เท่ากับ 85.96% และบ้านโคกเมือง เท่ากับ 50.98% ค่ากิจกรรมการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH เทียบเท่าวิตามินซี (mg Vitamin C/g DW) พบว่าบ้านสนวนนอก เท่ากับ 61.91 บ้านสวายจีก เท่ากับ 57.35 และบ้านโคกเมือง เท่ากับ 34.65 mg Vitamin C/g DW และเมื่อวิเคราะห์ค่าทางสถิติ (One way analysis of variance : One way ANOVA) ของค่ากิจกรรมการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH เทียบเท่าวิตามินซี (mg Vitamin C/g DW) พบว่าสารสกัดรำข้าวของ 3 ชุมชน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
กษมา ชารีโคตร. (2559). หลักการวิเคราะห์อาหาร. จาก http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/18A7jD007644B3RFF306.pdf.
ปฏิวิทย์ ลอยพิมาย. (2553). รำข้าว : การคงสภาพรำข้าว(Rice Bran: Rice Bran Stabilization). ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 10(2), 78-83.
รุ่งเรือง งาหอม, จินดาพร สืบขำเพชร, ชลาวัล วรรณทอง, ชาติชาย ศรีษะนอก และเรวัชณ์ มัชฌิกะ .(2562). การศึกษาข้อมูลและกลไกเพื่อขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
เอนก หาลี และบุณยกฤต รัตนพันธุ์, (2560). การศึกษาประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน 15 ชนิด. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 40(2), 283-293.
อัครเกียรติ พวงแสง และศุภกาญจน์ รัตนกร. (2563). การสกัดสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากรำข้าวโดยการให้ความร้อนแบบไฮโดรเทอร์มอลร่วมกับการใช้คลื่นอัลตราซาวด์. จากhttps://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/21th-ngrc-2020/BMO6/BMO6.pdf
Moongngarm, A., Daomukda, N. & Khumpika, S. (2012). Chemical Compositions, Phytochemicals, and Antioxidant Capacity of Rice Bran, Rice Bran Layer, and Rice Germ. APCBEE Procedia, 2012(2), 73-79.
Yingngam, B., Monschein, M. & Brantner, A. (2014). Ultrasound-assisted extraction of phenolic compounds from Cratoxylum formosum ssp. formosum leaves using central composite design and evaluation of its protective ability against H2O2-induced cell death. Asian Pacific Journal of Tropical Medicine, 7(1), S497-S505.
Arab, F., Alemzadeh, I. & Maghsoudi, V. (2011). Determination of antioxidant component and activity of rice bran extract. Scientia Iranica Transactions C: Chemistry and Chemical Engineering, 18(6), 1402-1406.
Saunders R. (1990). The properties of rice bran as a food stuff. Cereal Food World 1990, 35(7), 633-662.
Irmak, S. & Dunford, N.T. (2005). Policosanol Contents and Compositions of Wheat Varieties. J. Agric. Food Chem, 2005(53), 5583-5586.
Laokuldilok, T., Shoemaker, C.F., Jongkaewwattana, S. & Tulyathan, V. (2011). Antioxidants and Antioxidant Activity of Several Pigmented Rice Brans. J. Agric. Food Chem, 2011(59), 193-199.
Garba, U.,Singanusong, R., Jiamyangyuen, S. & Thongsook, T. (2017). Extraction and utilization of rice bran oil: A review. จาก https://www.researchgate.net/publication/319354031.
Wu, X., Gu, L., Holden, J., Haytowitz, D.B., Gebhardt, S.E., Beecher, G. & Prior, R.L. (2004). Development of a database for total antioxidant capacity in foods: a preliminary study. Journal of Food Composition and Analysis, 2004(17), 407-422.