การพัฒนาต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชงเพื่อผลิตเส้นใยกัญชงจากเศษเหลือทิ้ง

Main Article Content

ชนินทร์ มหัทธนชัย
เสรี ปานซาง
สุกิจ ทองแบน
บุษราภรณ์ มหัทธนชัย
นภารัตน์ จิวาลักษณ์
จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและถอดองค์ความรู้กระบวนการทำเส้นใยกัญชงจากเศษใยกัญชงเหลือทิ้ง 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชงจากเส้นใยกัญชงที่เหลือทิ้ง การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ วิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง จำนวน 15 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้มีประสบการณ์การทำผ้าทอมือแบบดั้งเดิมด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การดำเนินงานโดย 1) ศึกษาการผลิตผ้าทอใยกัญชงและถอดองค์ความรู้กระบวนการทำเส้นใยกัญชงจากเศษใยกัญชงเหลือทิ้ง 2) ออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชงจากเส้นใยกัญชงเหลือทิ้ง 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการทำเส้นใยกัญชงจากเศษใยกัญชงเหลือทิ้งและการใช้งานต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการทำเส้นใยกัญชงจากเศษใยกัญชงเหลือทิ้งจะให้วิธีการหมักด้วยน้ำเปล่า ซัก และตาก แบบธรรมชาติเพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การออกแบบพัฒนาต้นแบบเครื่องปั่นใยกัญชงจะมีมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยขับเคลื่อนเพลาของกระสวยปั่นและมีขนาดเล็ก ทำให้สะดวกในการใช้งานสามารถพกพาได้ สามารถทำเส้นด้ายไม่น้อยกว่า 480 เมตรต่อชั่วโมง ด้วยความเร็วรอบไม่น้อยกว่า 1,320 รอบต่อนาที ช่วยเพิ่มผลผลิตมากกว่า 2 เท่า สร้างมูลค่ารายได้ให้ชุมชน ลดการใช้แรงงาน และสามารถนำเศษใยเหลือทิ้งกลับมาใช้งานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเพ็ช ภูมิสวัสดิ์. (2563). การศึกษาความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ของการนำวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมกัญชงมาพัฒนาเป็นผนังแซนวิชโครงสร้างไฟเบอร์ซีเมนต์ (SSP). (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัญญาภัค ทิศศรี. (16 กันยายน 2565). เส้นใยกัญชงกับการต่อยอดสู่ชิ้นส่วน “ยานยนต์” และ “อวกาศ”. กรุงเทพธุรกิจ, น.3.

จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร และมาโนช ริทินโย. (2558). การออกแบบและสร้างเครื่องตีเกลียวเส้นด้าย.วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., 8(2), 116-123.

ธัญพร ถนอมวรกุล. (7 ตุลาคม 2565). ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดาวม่าง งานผ้าใยกัญชง. [บทสัมภาษณ์].

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญยเนตร พูลสุข, รัชเวทย์ อโนดาษ และอินภักดี จินตนา. (2561). การพัฒนาคุณภาพหญ้าแฝก เพื่อการทำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

บุษราภรณ์ มหัทธนชัย, ชนินทร์ มหัทธนชัย, จิตราภรณ์ ธาราพิทักษ์วงศ์, ทิวาวัลย์ ต๊ะการ และเดือนฉาย ไชยบุตร. (2562). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาการผลิตผ้าทอใยกัญชง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 5(2), 71-85.

พรศิริ หลงหนองคูณ. (2560). การพัฒนาเส้นด้ายผสมปั่นมือจากเส้นใยใบอ้อยและเส้นใยฝ้าย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รัตญา ยานะพันธุ์. (2565). การนำเศษเส้นใยกัญชงจากกระบวนการทำเส้นด้ายมาใช้ประโยชน์ตามแบบ BCG Model. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2565. จาก https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/1549.

สมพร วาสะสิริ. (2558). ผืนผ้าจากเส้นใยผักตบชวาผสมด้ายฝ้าย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ วิชาการวิจัยและงานสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2, 210-227.

สุทธิสันต์ พิมพะสาลี, เกสร วงศ์เกษม และเพียรพร พรมตู้. (2563). การพัฒนาเครื่องสางและเครื่องตีเกลียวเส้นไหมสำหรับไหมอีรี่ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาหม่อนไหม กรมหม่อนไหม.

อนุชิต ฉ่ำสิงห์ และธนพร ศิลปชัย. (2559). เครื่องสาวไหมระดับเกษตร. 30 ปี เครื่องจักรกลเกษตร.