ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานพัสดุตามแนวคิดแบบลีน กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานพัสดุตามแนวคิดแบบลีน และ2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อการใช้งานระบบ ทั้งนี้เพื่อให้ได้สารสนเทศในการวางแผนและบริหารจัดการพัสดุขององค์กรให้มีความรวดเร็ว โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานพัสดุ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าาเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีขั้นตอนการพัฒนาระบบตามวงจรการพัฒนาระบบ ที่ทำการศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของงานพัสดุองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงความต้องการที่มีต่อระบบงานใหม่ จากนั้นทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบด้วยหลักการเชิงวัตถุโดยนำแนวคิดแบบลีนมาประยุกต์เพื่อลดขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในกระบวนการทำงานพัสดุ เครื่องมือที่ใช้พัฒนาคือ ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) ภาษาพีเอชพี (PHP) ลาราเวลเฟรมเวิร์ก (Laravel Framework) และระบบจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล (MySQL) ผลการวิจัยพบว่า ระบบทำงานในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันที่มีฟังก์ชันสำคัญในการทำงาน คือ 1) จัดการข้อมูลพื้นฐาน 2) จัดสรรข้อมูลงบประมาณ 3) ขออนุมัติดำเนินการจัดซื้อ และ 4) เบิกจ่ายพัสดุ เมื่อศึกษาการทำงานของระบบระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2567 ระบบสามารถช่วยลดเวลาในการทำงานลงได้ร้อยละ 22 และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.56, S.D. = 0.12)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนเท่านั้น
References
กาญจน์วริน สิทธิปรีชาพงษ์. (2565). การศึกษาความต้องการการใช้งานระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (รายงานการวิจัย) นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ธนภัทร เจิมขวัญ, จารุวรรณ เพชรรักษ์, และพุฒิธร ตุกเตียน. (2562). ระบบบริหารคลังวัสดุอุปกรณ์:กรณีศึกษาสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. (น.1429-1438). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วีรยุท ทิพยานนท์ และ วิชาญ เหรียญวิไลรัตน์. (2564). สารสนเทศในการบริหารต่อสื่อเทคโนโลยีเพื่อ
การจัดการเรียนรู้ของบุคลากร ทางการศึกษาโรงเรียนบ้านโกรกสิงขร อำเภอจอมบึงจังหวัด
ราชบุรี. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. 1(1), 1-10.
วิทยา ปารีเลียม และ ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง. (2564). การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
พัสดุด้วยการใช้แนวคิดขจัดความสิ้นเปลืองและสูญเปล่า (Lean) มาประยุกต์ใช้ กรณีศึกษา
โรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. การบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 9(1), 93-105.
ศิริพร จันทร์หอม. (2562). การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อเวชภัณฑ์ โดยการนำแนวคิด
ระบบการผลิตแบบลีน มาประยุกต์ใช้ กรณีศึกษา การจัดซื้อเวชภัณฑ์ลักษณะฝากขาย
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพเกียรติ. (การค้นคว้าอิสระ) ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
สุริยัน นิลทะราช. (2562). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานพัสดุ เพื่อการควบคุมวัสดุ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร)
สุกัญญา ทับทิม. (2562). การพัฒนาระบบงานพัสดุสำนักงาน โดยใช้โปรแกรมทะเบียนวัสดุสำนักงาน
สำหรับสำนักงาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วิทยาการ
จัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 6(1), 49-58.
อรรถพล จันทร์สมุด. (2562). ระบบสารสนเทศการจัดการวัสดุสิ้นเปลือง : กรณีศึกษา สำนักงาน
คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
แม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 5(2), 13-26.
อติกานต์ ม่วงเงิน. (2562). การประยุกต์ใช้เทคนิคแบบลีน (ECRS+IT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ
กระบวนการทำงานระบบตู้รับคืนหนังสืออัตโนมัติ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (รายงานการวิจัย) กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์. อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด. [เว็บบล็อก].
สืบค้นจาก http://www.bpao.go.th/