ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การตัดสินใจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำแนกตาม เพศ คณะ ภูมิลำเนาเดิม และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีการศึกษา 2562 ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 343 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิไม่เป็นสัดส่วน (Non-proportional stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาอยู่ในระดับมาก
( = 4.07) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านอาจารย์ผู้สอนมีระดับการตัดสินใจสูงที่สุด ( = 4.35) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านความมุ่งหวังของตนเอง ( = 4.33) และ ปัจจัยด้านความสะดวกในการเดินทาง ( = 4.17)
2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อพิจารณาจำแนกตามเพศ ภูมิลำเนาเดิม และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาจำแนกตามคณะพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ธนวรรณ รักอู่. (2557). การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีของนักศึกษาภาคปกติ ปีการศึกษา 2556 (รายงานผลการวิจัย). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยกาญจนบุรี.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นราธิจ ศรัณย์ภัทรธร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเอกชน.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2550). การศึกษาของไทยในอดกรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). มาตรฐานการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น