การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ
คำสำคัญ:
การคิดเชิงออกแบบ , การสร้างแอปพลิเคชัน, เทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้, อาหารเพื่อสุขภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งเป็นกระบวนการแก้ปัญหาโดยเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ โดยผลลัพธ์จากการวิจัย ได้แก่ แอปพลิเคชันออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ ซึ่งจำลองโมเดลของอาหารเพื่อสุขภาพของร้านโฮมเบเกอรี่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในรูปแบบสามมิติ และสามารถใช้งานได้บนสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฎิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการสร้างความน่าสนใจให้ผู้บริโภค ผลการประเมินจากผู้ทดลองใช้งานแอปพลิเคชันด้วยแบบสอบถามแบบอัตราส่วน 4 ระดับ พบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ส่งเสริมอาหารเพื่อสุขภาพที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 3.65 S.D. = 0.48) โดยมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในด้านเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย = 3.71 S.D. = 0.46) ด้านความพึงพอใจในภาพรวมของแอปพลิเคชัน (ค่าเฉลี่ย = 3.64 S.D. = 0.49) ด้านประสิทธิภาพและคุณสมบัติ (ค่าเฉลี่ย = 3.63 S.D. = 0.48) และด้านการออกแบบ (ค่าเฉลี่ย = 3.62 S.D. = 0.49) ตามลำดับ
References
ณัฏฐ์ ดิษเจริญ, กรวัฒน์ พลเยี่ยม, พนิดา วังคะ ฮาต และปุริม จารุจำรัส. (2557). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โครงสร้างอะตอมและพันธะเคมีด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี้. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 5(1). 21-27.
ณัฐวี อุตกฤษฏ์และนวพล วงศ์วิวัฒน์ไชย. (2555). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อช่วยในการสอนเรื่องตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2563, จาก http:// www.artymix.com/files/NCIT_Nattavee_Navapon.pdf.
นุชจรี กิจวรรณ. (2561). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ : มุมมองใหม่ของระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการพยาบาล. 33(1). 5-14.
วัฒนา สุนทรธัย. (2552). วัดความพึงพอใจอย่างไรจึงจะตอบคำถาม สกอ. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2563 จาก http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/ kpi5.4.pdf.
ศิวกร กระต่ายป้อง และคณะ. (2558). การพัฒนาสื่อการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ด้วยเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ ระดับชั้นมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาลัยสวนดุสิต).
สุพักตร์ พิบูลย์. (2552). การพัฒนาเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) สัมมนาเสริมในการสอนวิชา 24703 การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการวิจัยและประเมิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2563 จาก https://www.gotoknow.org/posts/238980.
Domhan, T. (2010). Augmented Reality on Android Smartphones. Retrieved when September 3, 2020 from http://goo.gl/hu1f2y
Lopez, M. (2016). Design thinking ensures a better mobile user experience. Retrieved when August 23, 2020 from https://searchmobilecomputing.techtarget.com/feature/Design-thinking-ensures-a-better-mobile-user-experience.
The Momentum. (2560). Coding & Design ทักษะใหม่จากสองวิธีคิดที่แตกต่าง. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564 จาก https://themomentum .co/coding-and-design.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนเท่านั้น