การประเมินคุณค่าทางโภชนะ คุณภาพและผลผลิตจากกระบวนการหมักของพันธุ์กล้วย diploid (2n) triploid (3n) tetraploid (4n) หมัก

ผู้แต่ง

  • สุปรีณา ศรีใสคำ สาขานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
  • ขวัญใจ หรูพิทักษ์ สาขานวัตกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

คำสำคัญ:

พันธุ์กล้วย, กล้วยหมัก, คุณค่าทางโภชนะ, คุณภาพการหมัก, ผลผลิตจากกระบวนการหมัก

บทคัดย่อ

เศษเหลือทางการเกษตร (agricultural by products) สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ทางเลือกได้ นอกจากสามารถลดต้นทุนการผลิต เมื่อใช้วิธีการเก็บถนอมพืชอาหารสัตว์ในรูปหมักจะช่วยเก็บรักษาคุณภาพพืชหมักให้ยาวนานขึ้นและเป็นพืชอาหารสัตว์สำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง งานวิจัยนี้ศึกษาการประเมินคุณค่าทางโภชนะ คุณภาพและผลผลิตจากกระบวนการหมักของพันธุ์กล้วย diploid (2n) triploid (3n) tetraploid (4n) หมัก 4 สายพันธุ์ได้แก่ กล้วยตานี กล้วยหิน กล้วยน้ำไท และกล้วยเทพรส โดยจัดแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) และวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลก่อนหมักและหลังหมักด้วยวิธี Repeated measurement ANOVA พบว่า โปรตีนและเยื่อใยของกล้วยทั้ง 4 สายพันธุ์สูงขึ้นหลังจากหมักในสภาพไร้อากาศเป็นเวลา 28 วัน แต่เมื่อพิจารณากล้วยหมักในแต่ละพันธุ์จะพบว่า กล้วยน้ำไทหมักมีโปรตีนสูงกว่ากล้วยหมักพันธุ์อื่น ส่วนกล้วยตานีหมักมีคุณภาพดีที่สุด รองลงมาคือ กล้วยน้ำไทหมัก กล้วยหิน และกล้วยเทพรส ตามลำดับ มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 3.325-3.700 ขณะที่กล้วยน้ำไทหมักและกล้วยหินหมักมี LA ปริมาณสูงที่สุด และมี C2 และ C4 อยู่น้อย โดยพบว่าปริมาณน้ำตาลทั้งหมดและปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ในกล้วยหินหมักมากที่สุด ค่าสีของกล้วยเทพรสหมักสว่างน้อยกว่ากล้วยพันธุ์อื่น กล้วยที่ผ่านการหมักให้ค่าไปทางสีแดงมากกว่าก่อนหมัก และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพันธุ์กล้วยและปัจจัยการหมักในเกือบทุกลักษณะ

References

ณรกมล เลาห์รอดพันธ์ และวิโรจน์ ลิขิตตระกูลวงศ์. (2560). ผลของเปลือกกล้วยหมักต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของโคลูกผสมชาร์โรเลส์. วารสารนเรศวรพะเยา. 10(2), น.50-53.

ธนิกา ยิ้มย่อง และสุรเดช โรจน์เกษตรสิน. (2562). เปรียบเทียบการใช้ต้นกล้วยหมักและต้นกล้วยสดผสมในอาหารสำเร็จรูปทางการค้าต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของสุกรลูกผสมสามสายพันธุ์ (พื้นเมืองxเหมยซานxดูรอค). ปัญหาพิเศษ. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เบญจมาศ ศิลาย้อย และทรรศนียา กัลยาณมิตร (2548). กล้วย. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 30. กรุงเทพมหานคร: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.

เบญจมาศ ศิลาย้อย. (2558). กล้วย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พงษ์ชาญ ณ ลำปาง. (2556). การหาแหล่งอาหารพื้นบ้านเพื่อทดแทนรำในอาหารสุกรพันธุ์ไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พรพรรณ แสนภูมิ, สุภาวดี ฉิมทอง, ดาวรุ่ง ศิลาอ่อน, กมลชนก หงษาพล และนุชนาถ กลับดี. (2564a). การศึกษาน้ำพืชหมักจากใบสับปะรด. วารสารแก่นเกษตร, 49 (ฉบับเพิ่มเติม 2), น.222-227.

พรพรรณ แสนภูมิ , สุภาวดี ฉิมทอง, ดาวรุ่ง ศิลาอ่อน, ขวัญฤดี เอมโอษฐ และ นันทนัช คล้อยกลับ. (2564b). การศึกษาน้ำพืชหมักจากเปลือกตาล. วารสารแก่นเกษตร, 49 (ฉบับเพิ่มเติม 2), น.348-353.

นลิน อินทร์พรรณ์ และสมคิด ใจตรง. (2559). ลักษณะของกล้วยน้ำไท น้ำว้ามะลิอ่อง หิน และเทพรส. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, (ฉบับพิเศษ 1), M10/1-5.

นิรันดร หนักแดง. 2558. ผลของการหมักหญ้าซิกแนลเลื้อยร่วมกับกระถินต่อคุณภาพของพืช. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 7, น.119-128.

ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). รายงานสถิติทางการเกษตร: พื้นที่ปลูกกล้วย. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564. URL: https://production.doae.go.th/service/report-product-statistic/

วลัยกานต์ เจียมเจตจรูญ, สุวรรณี เกศกมลาสน์ และสดุดี พงษ์เพียจันทร์. (2559). การรวบรวมและจัดทำข้อมูลด้านคุณค่าทางโภชนะของวัตถุดิบอาหารสัตว์. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักพัฒนาอาหารสัตว์. (2559). การนำผลิตผลจากต้นกล้วยมาใช้เลี้ยงสัตว์. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

อโนดาษ์ รัชเวทย์, จิรประภา กวางคำ, สุภาวรรณ ใจนัน และวิศณุสรรค์ ชาติอารยะวดี. (2560). การย้อมเส้นใยฝ้ายจากขมิ้น โดยมียางกล้วยน้ำว้าเป็นมอร์แดนท์. Science and Technology RMUTT Journal, 7(2), pp. 42-58.

AOAC. (1990). Official Methods of Analysis. 15th ed. Association of Official Analytical Chemist, Inc. Arlington Virginia 22201 USA.

Dayana, I., & Marbun, J. (2018). Use of Animal Feed into Banana Stem. ANR Conference Series01: 198-204.

DuPonte, M.W., Cowell, K., & Jha, R. (2016). Banana Silage: An Alternative Feed for Swine. University of Hawai’I at Manoa, UH-CTAHR. Livestock Management LM-31.

Prapinagsorn, W., Sittijunda, S., & Reungsang, A. (2017). Co-Digestion of Napier Grass and Its Silage with Cow Dung for Methane Production. Energies. 10: 1654. Doi:10.3390/en10101654.

Srisaikham, S. (2022). Comparison of silages from Napier Pakchong1 and Sweet grass fermented with agricultural waste from banana cultivars. Science and Technology Research Journal Nakhon Ratchasima Rajabhat University, x(1), xx-xx.

Subagyo, A., & Chafidz, A. (2020). Banana Pseudo-Stem Fiber: Preparation, Characteristics, and Applications. In Jideani, A.I.O., & Anyasi, T.A. Banana Nutrition-Function and Processing Kinetics. IntechOpen. Doi:10.5772/intechopen.82204.

Yang, X., Zhang, Z., Song, L., Wang, G., & Zhang, J. (2020). Solid-State Anaerobic Microbial Ensilage: A Combined Wet Storage and Pretreatment Method for the Bioconversion of Lignocellulosic Biomass. Waste and Biomass Valorization. 11, pp. 3381-3396.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27