การศึกษาการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมเชิงมุมในคาบวงโคจรของระบบดาวคู่อุปราคา วี 1851 โอไรโอนิส

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ รังสูงเนิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ปาจไน จอหอนอก
  • ปิยะนัฐ โพธิ์โหน่ง
  • สมานชาญ จันทร์เอี่ยม

คำสำคัญ:

V 1851 Orionis, binary star system, angular momentum loss (AML) theory

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคาบวงโคจรและลักษณะทางกายภาพของดาวคู่ วี 1851 โอไรโอนิส ซึ่งเป็นระบบดาวคู่อุปราคาประเภท W Uma โดยข้อมูลทางกายภาพเดิมบ่งชี้ว่าดาวคู่วี 1851 โอไรโอนิส กำลังเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพจากประเภทระบบดาวคู่แบบแตะกันเป็นระบบดาวคู่แบบแยกกัน  คณะผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนเพื่อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางกายภาพใหม่ด้วยเทคนิคโฟโตเมทรี โดยทำการเก็บข้อมูลด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร เชื่อมต่อกับระบบซีซีดีโฟโตมิเตอร์ผ่านแผ่นกรองแสงในช่วงความยาวคลื่นสีน้ำเงิน (B) สี   ที่ตามองเห็น (V) และสีแดง (R) ตามระบบมาตรฐาน ยูวีบี ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมา เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และในระหว่างวันที่ 22 - 23 ธันวาคม พ.ศ.2563 ผลปรากฏว่า ได้สมการ linear ephemeris ใหม่ คือ HJD = 2452617.7356 + 0.27695E คาบวงโคจรของดาวคู่วี 1851 โอไรโอนิส มีคาบเพิ่มขึ้นในอัตรา 5.02294198 × 10-17 วินาทีต่อปี  เมื่อทำการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพด้วยโปรแกรม PHOEBE พบว่า มีค่าอัตราส่วนมวลเท่ากับ 0.64694 มุมเอียงของระนาบวงโคจรเท่ากับ 87.78448 องศา อุณหภูมิของดาวปฐมภูมิและดาวทุติยภูมิเท่ากับ 5,711 เคลวิน และ 6,000 เคลวิน ตามลำดับ ดาวปฐมภูมิและดาวทุติยภูมิมีมวลเท่ากับ 18.761285 และ 12.137425 เท่าของดวงอาทิตย์ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ว่า  ดาวคู่ วี 1851 โอไรโอนิส เป็นระบบดาวคู่    อุปราคา ประเภท W Uma ดาวฤกษ์ทั้งสองดวงเป็นดาวแคระ มีชนิดสเปกตรัมอยู่ในกลุ่มดาวฤกษ์กลุ่ม G0 ระบบดาวคู่นี้มี คาบวงโคจรที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าดาวฤกษ์ทั้งสองดวงของระบบดาวคู่นี้กำลังเคลื่อนห่างออกจากกัน  ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิวัฒนาการดาวฤกษ์ตามทฤษฎีการลดลงของโมเมนตัมเชิงมุม

References

Blattler, E. and Diethelm, R. (2007). Observations of Variables. Commissions of 27 and 42 of The IAU information bullentin on variablestars, IBVS No. 5799. pp 1 – 4.

Bob Nelson. (2020). Bob Nelson's Database of Eclipsing Binary O-C Files. Retrieved June, 2, 2020. From https://www.aavso.org/bob-nelsons-o-c- files.

Essam, A., Nakhlawy, A. & Rassem, M.A. (2013). The first photometric analyses and classification of the W-UMa eclipsing binary systems GSC 1283-53 and GSC 702-1892. NRIAG Journal of Astronomy and Geophysics.

Kopal Zdenek. (1959). Close binary systems Vol.5. U.S.A : Springer.

Pancharoen, W. and Maithong, W. (2021). The First study of a Period change of the V1851 Orion Eclipsing Binary System. ASEAN J. Sci. Tech report. 2021, 24(3) 9-14.

Prsa, A. (2011). PHOEBE Scientific Reference version 0.30. Pennsylvania: Villanova University.

Prša, A. and Harmanec, P., (2010). PHOEBE manual. Pennsylvania: Villanova University.

Thanawat Rangsungnoen. (2012). Physical Structure of W Uma Binary System LO Andromeda. KKU Sci. J. 41(1), 203-212. (in Thai).

University de Strasbourg. (2020). Basic data of V* V1851 Ori – Eclipsing Binary. Retrieved June, 12, 2020. From

http://simbad.u-strasbg.fr/simbad/sim-id?Ident=V1851%20ORI

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27