การวิเคราะห์พลวัตระบบสำหรับอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในประเทศไทย AN ANALYSIS SYSTEM DYNAMICS FOR RENEWABLE ENERGY POWER PLANTS INDUSTRY IN THAILAND

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ กิตติศักดิ์สุนทร หน่วยวิจัยการจัดการงานวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ภัทรเวช ธาราเวชรักษ์ หน่วยวิจัยการจัดการงานวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชูศักดิ์ พรสิงห์ หน่วยวิจัยการจัดการงานวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

พลวัตระบบ, พลังงานทดแทน, อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาแบบจำลองพลวัตระบบอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในประเทศไทย ซึ่งเริ่มจากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในประเทศไทย หลังจากนั้นได้นำข้อมูลที่สอดคล้องมาสร้างเป็นแบบจำลองพลวัตระบบโดยโปรแกรม Vensim PLE x32 และได้ทดสอบปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการสนับสนุนการผลิตกระแสไฟฟ้านานถึง 12 ปี ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองจำลองพลวัตระบบอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนสามารถคำนวณผลกำไรจากการขายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในปีที่ 12 สามลำดับแรก ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์มีผลกำไรมากถึง 15,851,300.00 บาท พลังงานลม 9,636,300.00 บาท และพลังงานก๊าซชีวภาพ 2,682,550.00 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564) ทำให้ทราบได้ว่ามีแนวโน้มสนับสนุนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถนำไปใช้พยากรณ์สภาวะการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้เป็นอย่างดี

Downloads

References

[1] Metropolitan Electricity Authority. (2016). Electricity usage statistics. Retrieved January 20, 2016, from http://www.mea.or.th/profile/index.php?tid=5&mid=125&pid=122
[2] Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Ministry of Energy. (2016). Alternative Energy Development Plan 25% in 10 years (AEDP2015). Department of Alternative Energy Development and Efficiency.
[3] Electricity Generating Public Co., Ltd. (2015). Solar Thermal Power. Retrieved April 12, 2015, from http://www.egco.com/th/energy_knowledge_solar3.a
[4] Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Ministry of Energy. (2012). Status of Solar Power in Thailand (2009-2013). Bangkok: Bureau of Solar Energy Development.
[5] Energy Policy and Planning Office, Ministry of Energy. (2016). Renewable Energy Policy in Feed-in Tariff. Retrieved April 14, 2016, from www.eppo.go.th/power/fit-seminar/FiT_2016.pdf
[6] Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Ministry of Energy. (2014). Thailand Renewable Energy Report. Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public Co., Ltd. 19.
[7] Linna Hou. (2015). System Dynamics Simulation of Large-Scale Generation System for Designing Wind Power Policy in China. Hindawi Publishing Corporation Discrete Dynamics in Nature and Society Volume 2015.
[8] Kong Chyong, William J. Nuttall.; and David M. Reiner. (2009). Dynamics of the UK natural gas industry: System dynamics modelling and long-term energy policy analysis. Technological Forecasting & Social Change. 76. 339-357.
[9] Pita, P., Tia, W., Suksuntornsiri, P., Limpitipanich, P.; & Limmeechockchai, B. (2015). Assessment of Feed-in Tariff Policy in Thailand: Impacts on National Electricity Prices. Energy Procedia. 79: 584-589.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-06

How to Cite

กิตติศักดิ์สุนทร อ., ธาราเวชรักษ์ ภ., & พรสิงห์ ช. (2019). การวิเคราะห์พลวัตระบบสำหรับอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในประเทศไทย AN ANALYSIS SYSTEM DYNAMICS FOR RENEWABLE ENERGY POWER PLANTS INDUSTRY IN THAILAND. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(20, July-December), 153–163. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/170568