ผลของการย้อมทับต่อการเปลี่ยนแปลงสีของผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีย้อมสกัดจากผงใบครามแห้งพันธุ์ Indigofera tinctoria
คำสำคัญ:
การสกัด, ผงใบครามแห้ง, การย้อมสีคราม, ต้นครามบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการย้อมทับต่อการเปลี่ยนแปลงสีของผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีย้อมสกัดจากผงใบครามแห้งพันธุ์ Indigofera tinctoria ในประเทศไทย โดยการสกัดสีย้อมด้วยกระบวนการหมักแล้วนำสีย้อมที่สกัดได้มาทดสอบการย้อมบนผ้าฝ้ายให้เหมาะสมโดยควบคุมตัวแปร ได้แก่ ปริมาณผงคราม ปริมาณด่าง ปริมาณสารรีดิวซ์ ระยะเวลาการย้อม 5 นาที ที่อุณหภูมิ 25+5 องศาเซลเซียส ดำเนินการทดลอง 5 ซ้ำ เพื่อหาค่าเฉลี่ย L* a* b* C* และ h* ตามแผนการทดลองแบบ Complete Randomized Design (CRD) ทำการวัดค่าสีในระบบ CIE วิเคราะห์ความแปรปรวนที่ได้จากการย้อมทับในจำนวนครั้งที่ต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า ผ้าฝ้ายทดลองสามารถย้อมติดสีจากสีที่สกัดได้จากผงใบครามแห้งพันธุ์ Indigofera tinctoria ได้ คือ สีย้อมมีความเข้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มจำนวนการย้อมทับและส่งผลต่อค่าสี L* b* C* และ h* อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < 0.05) โดยค่า L* มีค่าความสว่างของสีต่ำลงแสดงถึงสีเข้มขึ้น ค่า b* เป็นลบและมีความเป็นสีน้ำเงินเพิ่มขึ้น ค่า C* มีค่าความสดใสของสีเพิ่มขึ้น และค่า h* ระบุตำแหน่งสีใกล้เคียงกับสีน้ำเงินเพิ่มขึ้น ผลการย้อมสีผ้าฝ้ายด้วยสีที่สกัดจากผงใบครามแห้งพันธุ์ Indigofera tinctorial แสดงให้เห็นว่าสีครามที่สกัดได้สามารถย้อมติดสีผ้าฝ้ายได้และจำนวนการย้อมทับที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อเฉดสีของผ้าทำให้ผ้าตัวอย่างมีสีเข้มขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่าผงใบครามแห้งพันธุ์ Indigofera tinctoria สามารถนำมาสกัดสีครามและใช้ย้อมสีครามในผ้าฝ้ายได้
Downloads
References
Saikhao, L., Setthayanond, J., Karpkird T., and Suwanruji, P. (2017). Comparison of sodium dithionite and glucose as a reducing agent for natural indigo dyeing on cotton fabrics. MATEC Web of Conferences, 108, Article 03001. https://doi.org/10.1051/matecconf/201710803001
Saithong, A. (2007). Final report from the development study project of indigo dyed on fabric. Sakon Nakhon Rajabhat Institute, Sakon Nakhon.
Hirunkitmonkon, S. (2000). Kinetics and influences of corresponding variables on silk dyeing process with natural indigo dye. Bangkok: Department of Chemical Engineering, Faculty of Agriculture, Kasetsart University.
Aino, K., Hirota, K., Okamoto, T., Tu, Z., Matsuyama, H., and Yumoto, I. (2018). Microbial communities associated with indigo fermentation that thrive in anaerobic alkaline environments. Frontiers in Microbiology, 9, Article 2196. Retrieved October 12, 2020, from https://www.frontiersin.org/article/10.3389/fmicb.2018.02196
Pattanaik, L., Padhi, S. K., Hariprasad, P., and Naik, S. N. (2020). Life cycle cost analysis of natural indigo dye production from Indigofera tinctoria L. plant biomass: A case study of India. Clean Technologies and Environmental Policy, 22(8), 1639-1654.
Rattanaprasat, W. (2006). Dye extraction from jackfruit Artocarpus heterophyllus Lamk. stems using recycle extractor [Unpublished master’s thesis]. Chulalongkorn University.
Adeyanju, O., Emmanuel, S. E., and Akomolafe, S. F. (2011). Extraction of indigo dye (powdered, form) from the leaf of indigofera tinctoria. International Journal of Physical Science, 6(1), 137-143.
Precha, P. (2009). The Study of natural indigo dyeing processic on cotton. Nakhon Si Thammarat: Department of Chemistry, Nakhon Si Thammarat Rajaphat Univesity.
Suwanruji, P., Karpkird, T., and Setthayanond, J. (2018). Study of green reducing agents for natural indigo dyeing on cotton fabrics. Bangkok: Department of Chemistry, Faculty of Science, Kasetsart University.
Piromthamsiri, K., and Luilao, R. (2017). Documentation: Fabric Design. Bangkok: Department of Home Economics, Faculty of Agriculture, Kasetsart University.
Luilao, R. (2017). Development of Indigo Dyed Mudmee Silk from Naturals Substances. Bangkok: Department of Home Economics, Faculty of Agriculture, Kasetsart University.
Hongsam, S., Egwutvongsa, S., and Sodphiban, P. (2014). Study and development process to increase natural dyes's tone variation on the cotton yarn from Strobilanthes flaccidifolius for textile products design. AJNU art and architecture journal, 5(2), 72-85. Retrieved April 7, 2021, from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/27761
Hartl, A., Proaño Gaibor, A. N., van Bommel, M. R., and Hofmann-de Keijzer, R. (2015). Searching for blue: Experiments with woad fermentation vats and an explanation of the colours through dye analysis. Journal of Archaeological Science Report. 2, 9-39. https://doi.org/10.1016/j.jasrep.2014.12.001
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต