แรงปฏิกิริยาจากพื้น การกระจายน้ำหนักใต้ฝ่าเท้า และสัดส่วนความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังต่อด้านหน้าในนักวิ่งเพื่อสุขภาพที่มีและไม่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขา
คำสำคัญ:
สัดส่วนแรงกล้ามเนื้อ, แรงปฏิกิริยาจากพื้น, นักวิ่ง, การบาดเจ็บรยางค์ขาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนำเสนอการศึกษาเปรียบเทียบแรงปฏิกิริยาจากพื้น การกระจายน้ำหนักใต้ฝ่าเท้า และสัดส่วนความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังต่อด้านหน้าในนักวิ่งเพื่อสุขภาพที่มีและไม่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขา และศึกษาความสัมพันธ์ของแรงปฏิกิริยาจากพื้น การกระจายน้ำหนักใต้ฝ่าเท้า และสัดส่วนความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังต่อด้านหน้าในนักวิ่งเพื่อสุขภาพที่มีและไม่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขาผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักวิ่งมือสมัครเล่นที่เข้าร่วมตรวจประเมินสมรรถภาพ ณ ศูนย์กายภาพบำบัด มหาวิทยาลัย มหิดล จำนวน 49 คน ผ่านเกณฑ์คัดเข้าทั้งหมด 35 คน เพศชาย 21 คน คิดเป็นร้อยละ 60 เพศหญิง 14 คน คิดเป็นร้อยละ 40 แบ่งเป็นกลุ่มนักวิ่งที่ไม่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขา 16 คน และกลุ่มนักวิ่งที่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขา 19 คน ทำการทดสอบประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อต้นขาด้วยเครื่องระบบไอโซไคเนติกซ์ที่ความเร็วเชิงมุม 60 120 และ 180 องศาต่อวินาที โดยนำค่าสัดส่วนความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังต่อด้านหน้า (hamstrings to quadriceps ratio: H/Q ratio) มาวิเคราะห์ทางสถิติ และทำการทดสอบแรงปฏิกิริยาจากพื้น (ground reaction force) ด้วยเครื่อง FDM - T นำข้อมูลแรงปฏิกิริยาจากพื้นสูงสุด (maximum force) และการกระจายน้ำหนักใต้ฝ่าเท้าสูงสุด (maximum foot pressure) ของขาทั้งสองข้างมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้ independent t - test เทียบความต่างระหว่างกลุ่ม ใช้ Pearson’s correlation เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างค่า H/Q ratio และ ค่า ground reaction force ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มนักวิ่งที่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขามีค่า maximum foot pressure โดยเฉพาะตำแหน่งส้นเท้า (heel) และกลางเท้า (midfoot) มากกว่ากลุ่มนักวิ่งที่ไม่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขา พบความสัมพันธ์เชิงผกผันระหว่าง H/Q ratio ทุกความเร็วเชิงมุมกับค่า maximum force ที่ตำแหน่งกลางเท้าในกลุ่มนักวิ่งที่ไม่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขาและพบความสัมพันธ์ปานกลางเชิงตามกันระหว่างค่า maximum foot pressure ที่ตำแหน่งปลายเท้า (forefoot) และ H/Q ratio ทุกความเร็วเชิงมุมในกลุ่มนักวิ่งที่ไม่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขา และไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าวในกลุ่มนักวิ่งที่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขา จากศึกษาครั้งนี้ทำให้ทราบว่ากลุ่มนักวิ่งที่ไม่มีประวัติการบาดเจ็บรยางค์ขามีอาจจะมีความสมดุลของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าดี ส่งผลให้แรงกระทำของเท้าต่อพื้นขณะวิ่งน้อยลง ซึ่งช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรยางค์ขาได้ การนำไปใช้ทางคลินิกแนะนำให้มีการฝึกเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังหรือฝึกให้กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและด้านหลังมีความสมดุลกัน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บรยางค์ขาในนักวิ่ง
Downloads
References
Van Gent, R. N., Siem, D., Van Middelkoop, M., Van Os, A. G., Bierma-Zeinstra, S. M. A., and Koes, B. W. (2007). Incidence and determinants of lower extremity running injuries in long distance runners: A systematic review. British Journal of Sports Medicine, 41(8), 469-480.
Upiriyasakul, R., Bovonsunthonchai, S., Sakunkaruna, Y., Sakunkaruna, S., Thong-On, S., Laisirirungrai, D. (2015). Incidence of injuries in marathon runners; bangkok marathon.Journal of Sports Science and Technology, 15(1), 171-178.
Mongkonpattarasuk, A., Sinsurin, K., Warathanagassame, P., Sungnak, P., and Suttiwiriyakul, L. (2018). Lower extremity injuries and associated factors in marathon runners: A survey study in bangkok marathon 2013. Journal of Sports Science and Technology, 18(2), 73-80.
Damsted, C., Parner, E. T., Sørensen, H., Malisoux, L., Hulme, A., and Nielsen, R. Ø. (2019). The association between changes in Weekly running distance and Running–Related injury: Preparing for a half marathon. journal of orthopedic & sports physical therapy, 49(4), 230-238.
Thijs, Y., De Clercq, D., Roosen, P., and Witvrouw, E. (2008). Gait-related intrinsic risk factors for patellofemoral pain in novice recreational runners. British Journal of Sports Medicine, 42(6), 466-471.
Yeung, S. S., Suen, A. M. Y., and Yeung, E. W. (2009). A prospective cohort study of hamstring injuries in competitive sprinters:
Preseason muscle imbalance as a possible risk factor. British Journal of Sports Medicine, 43(8), 589-594.
Grygorowicz, M., Kubacki, J., Pilis, W., Gieremek, K., and Rzepka, R. (2010). Selected isokinetic tests in knee injury prevention. Biology of Sport, 27(1), 47-51.
Aagaard, P., Simonsen, E. B., Magnusson, S. P., Larsson, B., and Dyhre-Poulsen, P. (1998). A new concept for isokinetic hamstring: Quadriceps muscle strength ratio. The American journal of sports medicine, 26(2), 231-237.
Ruas, C. V., Pinto, R. S., Haff, G. G., Lima, C. D., Pinto, M. D., and Brown, L. E. (2019). Alternative methods of determining hamstrings-to-quadriceps ratios: A comprehensive review. Sports medicine-open, 5(1), 1-14.
Ruas, C. V., Minozzo, F., Pinto, M. D., Brown, L. E., and Pinto, R. S. (2015). Lower-extremity strength ratios of professional soccer players according to field position. The Journal of Strength & Conditioning Research, 29(5), 1220-1226.
Cook, T. M., Farrell, K. P., Carey, I. A., Gibbs, J. M., and Wiger, G. E. (1997). Effects of Restricted Knee Flexion and Walking Speed on the Vertical Ground Reaction Force During Gait. journal of orthopaedic & sports physical therapy, 25(4), 236-244.
Van Ginckel, A., Thijs, Y., Hesar, N. G. Z., Mahieu, N., De Clercq, D., Roosen, P., and Witvrouw, E. (2009). Intrinsic gait-related risk factors for Achilles tendinopathy in novice runners: A prospective study. Gait & posture, 29(3), 387-391.
Witvrouw, E., Lysens, R., Bellemans, J., Cambier, D., and Vanderstraeten, G. (2000). Intrinsic risk factors for the development of anterior knee pain in an athletic population: A two-year prospective study. The American journal of sports medicine, 28(4), 480-489.
Coombs, R., and Garbutt, G. (2002). Developments in the use of the hamstring/quadriceps ratio for the assessment of muscle balance. Journal of Sports Science and Medicine, 1(3), 56-62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต