ปริมาณคาร์บอนสะสมในพืชป่าชายเลนบริเวณศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 นครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • รินลณี ศรีเหมาะ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • วัฒนณรงค์ มากพันธ์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

คาร์บอนสะสม, ป่าชายเลน, พันธุ์ไม้ป่าชายเลน

บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณคาร์บอนสะสมในพืชป่าชายเลน ดำเนินการศึกษาบริเวณศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 นครศรีธรรมราช โดยการวางแปลงตัวอย่างขนาด 20 X 50 เมตร จำนวน 6 แปลง เลือกสุ่มเฉพาะแปลงแรก ส่วนแปลงตัวอย่างลำดับถัดไปจะถูกกำหนดให้มีระยะห่างเท่ากันและสม่ำเสมอ สำรวจและระบุชนิดของไม้ยืนต้น นับจำนวน วัดขนาดของไม้ยืนต้นที่มีความสูง 1.30 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางระดับอก 4.50 เซนติเมตรขึ้นไป วัดความสูงโดยใช้โดยใช้สมการ Allometric Equations ในการวิเคราะห์การกักเก็บคาร์บอนจากมวลชีวภาพ ผลการศึกษาพบว่า สังคมพืชป่าชายเลนประกอบด้วยพันธุ์ไม้ จำนวน 6 ชนิด 5 วงศ์ ได้แก่ แสมทะเล (Avicennia marina (Forssk.) Vierh.) เป็นไม้เด่น มีค่าดัชนีความสำคัญสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata Blume.) ฝาดดอกขาว (Lumnitzera racemosa Willd.) โดยมีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 77.67, 76.36, 62.04 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ โดยต้นไม้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 14.68±4.28 เซนติเมตร ความสูงเฉลี่ย 8.22±1.93 เมตร พื้นที่ป่าชายเลนบริเวณศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 มีเนื้อที่ทั้งหมด 18 ไร่ ปริมาณมวลชีวภาพสะสมทั้งหมดเท่ากับ 181,874.15 กิโลกรัม หรือเท่ากับ 10,104.12 กิโลกรัมต่อไร่ และมีปริมาณคาร์บอนสะสมรวมทั้งหมดเท่ากับ 85.48 ตันหรือเท่ากับ 4.75 ตันต่อไร่

Downloads

References

Donato, D. C., Kauffman, J. B., Murdiyarso, D., Kurnianto, S., Stidham, M., and Kanninen, M. (2011). Mangroves among the most carbon-rich forests in the tropics. Nature Geoscience, 4(5), 293-297.

Department of Marine and Coastal Resources. (2013). The Knowledge of mangrove. Handbook (6th ed.). Bangkok: Ployjean Media. Inc. (in Thai).

United Nations Environment Programme. (2023). Decades of mangrove forest change: What does it mean for nature, people and the climate? UNEP, Nairobi.

Department of Marine and Coastal Resources. (2020). Mangrove forest. https://km.dmcr.go.th/c_11/d_19697 (in Thai).

Department of Marine and Coastal Resources. (2018). Mangrove forest area in Nakhon Si Thammarat Province. https://www.dmcr.go.th/detailAll/24220/nws/141 (in Thai).

Rattanasiri, K. (2007). Manual of management of mangrove forest protection area and aquatic conservation. Bangkok: Mangrove Forest Resource Develovment Station 5 (Chonuri). Department of Marine and Coastal Resources. (in Thai).

Komiyama, A., and Ogino, K. (1987). Root biomass of a mangrove forest in southern Thailand. 1. estimation by the trench method and the zonal structure of root biomass. Journal of Tropical Ecology, 3, 97-108.

Intergovernmental Panel on Climate Change. (2008). 2006 IPCC Guidelines for national greenhouse gas inventories- A primer. In S. Eggelston, L. Buendia, K. Miwa, T. Ngara, and K. Tanabe (Eds). pp. 1-20. Institute for Global Environmental Strategies, Kanagawa: Japan.

Kutintara, U. (1999). Ecology fundamental basics in forestry. Department of Forest Biology, Faculty of Forestry, Kasetsart University, Bangkok (Thailand).

Sribut, S., Sunthornhao, P., and Diloksumpun, S. (2020). Valuation of carbon stock and utilization of non-timber forest products at the sirinart rajini ecosystem learning center. Thai Journal of Forestry, 39(2), 41-51. (in Thai).

Tomkham, N. (2018). Mangrove plant community and carbon sequestration: A case study of klong kone, muang district, samut songkram province [Unpublished master’s thesis]. Silpakorn University. (in Thai).

Meepol, W. (2010). Carbon sequestration of mangrove forests at ranong biosphere reserve. Journal of Forest Management, 4(7), 33-47. (in Thai).

Rakjarern, S., Sunthornhao, P., Suanpaka, W., and Meepol, W. (2017). Use value of mangrove forest and carbon stock in buffer zone of ranong biosphere reserve. Thai Journal of Forestry, 36(1), 58-67. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-07

How to Cite

ศรีเหมาะ ร., & มากพันธ์ ว. (2024). ปริมาณคาร์บอนสะสมในพืชป่าชายเลนบริเวณศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 นครศรีธรรมราช. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(32, July-December), 1–13, Article 251943. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/251943