การพัฒนาโปรแกรมคำนวณขนาดยาเคมีบำบัดผ่านแบบฟอร์มใบสั่งยาที่พิมพ์ล่วงหน้าเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาและลดระยะเวลาในการคำนวณขนาดยา
คำสำคัญ:
คำนวณขนาดยาเคมีบำบัด, โปรแกรมคำนวณขนาดยาเคมีบำบัด, ความคลาดเคลื่อนทางยา, แบบฟอร์มใบสั่งยาที่พิมพ์ล่วงหน้าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือการคำนวณขนาดยาเคมีบำบัดที่พัฒนาขึ้น (โปรแกรมคำนวณขนาดยาเคมีบำบัดผ่านแบบฟอร์มใบสั่งยาที่พิมพ์ล่วงหน้า) ในด้านการลดความคลาดเคลื่อนทางยา และลดระยะเวลาในการคำนวณขนาดยาเคมีบำบัด โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่ให้ทางหลอดเลือดดำโดยผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป นับเป็นจำนวนครั้งทั้งสิ้น 280 ครั้ง เก็บข้อมูล ณ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยทำการเก็บข้อมูลกระบวนการคำนวณขนาดยาก่อนใช้โปรแกรมจนครบ จำนวน 280 ครั้ง เปรียบเทียบข้อมูลกับกระบวนการคำนวณขนาดยาที่ใช้โปรแกรมที่ออกแบบจนครบ จำนวน 280 ครั้ง ข้อมูลที่เก็บประกอบด้วย ความคลาดเคลื่อนทางยา ระยะเวลาการคำนวณขนาดยาของแพทย์ และระยะเวลาในการทวนสอบความถูกต้องของคำสั่งแพทย์ของเภสัชกร ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาจากกระบวนการคำนวณขนาดยาก่อนใช้โปรแกรมเท่ากับ 5 ครั้ง คิดเป็นอัตราความคลาดเคลื่อนทางยาเท่ากับ 17.85 ต่อ 1000 ใบสั่งยา เปรียบเทียบกับข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาจากการใช้โปรแกรมเท่ากับ 0 ครั้ง คิดเป็นอัตราความคลาดเคลื่อนเท่ากับ 0 ต่อ 1000 ใบสั่งยา ซึ่งอัตราความคลาดเคลื่อนทางยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญคิดเป็นร้อยละ 100 (p < 0.01) และเมื่อดูในส่วนข้อมูลระยะเวลาการคำนวณขนาดยาเฉลี่ยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งโดยเก็บข้อมูลเวลาเฉลี่ยจากกระบวนการคำนวณขนาดยาก่อนใช้โปรแกรมเท่ากับ 1.34 นาทีต่อครั้ง เปรียบเทียบกับข้อมูลจากการใช้โปรแกรมเท่ากับ 0.26 นาทีต่อครั้ง พบว่าระยะเวลาการคำนวณขนาดยาเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญคิดเป็นร้อยละ 80 (p < 0.01) และข้อมูลด้านระยะเวลาการคำนวณขนาดยาในการทวนสอบคำสั่งเฉลี่ยของเภสัชกรโดยเก็บข้อมูลจากกระบวนการคำนวณขนาดยาก่อนใช้โปรแกรมเท่ากับ 0.5 นาทีต่อครั้ง เปรียบเทียบกับข้อมูลจากการใช้โปรแกรมเท่ากับ 0.09 นาทีต่อครั้ง พบว่าระยะเวลาการคำนวณขนาดยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญคิดเป็นร้อยละ 82 (p <0.01) จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคำนวณขนาดยาเคมีบำบัดผ่านแบบฟอร์มใบสั่งยาที่พิมพ์ล่วงหน้าที่พัฒนาขึ้นสามารถลดความคลาดเคลื่อนทางยา และลดระยะเวลาการคำนวณขนาดยาได้ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ป่วย และแพทย์ผู้ทำการรักษา ทั้งนี้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นยังมีข้อจำกัด คือฐานข้อมูลยังไม่สามารถพัฒนาแบบออนไลน์ได้ จึงเป็นโอกาสในการพัฒนาต่อไป
Downloads
References
Wongkarnpat. (2015). NCDs is health crisis and global crisis, the disease from behavior ourselves. Retrieved July 11, 2018, from http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=1608
Hfocus. (2017). The 5 do’s and don’t far from cancer. Retrieved July 11, 2018, from https://www.hfocus.org/content/2017/12/15058
National Cancer Iinstitute. (2021). Types of Cancer Treatment. Retrieved May 31, 2021, from https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/types
National Cancer Iinstitute of Thailand. (2021). Cancer treatment according to international practiced in Thailand. Retrieved May 31, 2021, from https://www.nci.go.th/th/Knowledge/treat.html
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. (2018). Cancer treatment guidelines. Retrieved May 31, 2021, from https://med.mahidol.ac.th/cancer_center/th/nurse/guid
Siriraj Piyamaharajkarun Hospital. (2021). Deep konwledge about how to treat breast cancer. Retrieved May 31, 2021, from https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/breast-cancer-treatment
Cleveland Clinic. (2024). Chemotherapy. Retrieved from https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/24323-chemotherapy-drugs
Mayo Clinic. (2024). Chemotherapy. Retrieved from https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/chemotherapy/about/pac-20385033
American Cancer Society. (2018). How is chemotherapy used to treat cancer?. Retrieved Jul 12, 2018, from https://www.cancer.org/cancer/managing-cancer/treatment-types/chemotherapy/how-is-chemotherapy-used-to-treat-cancer.html
Hamza, N. A., Sallam, S. A., and El-Nimr, N. A. (2013). Rates and Types of Prescribing Errors and Related Interventions in Oncology. International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences, 2(12), 435-445. Retrieved July 12, 2018, from https://www.ijcmas.com/vol-2-12/Nouran%20Ameen%20Hamza,%20et%20al.pdf
Tran, M. (2000). The impact of introducing pre-printed chemotherapy medication charts to a day chemotherapy unit. Journal of Oncology Pharmacy Practice, 6(2), 64-69. Retrieved July 11, 2018, https://doi.org/10.1177/107815520000600206
Meisenberg, B. R., Wright, R. R., and Brady-Copertino, C. J. (2014). Reduction in chemotherapy order errors with computerized physician order entry. Journal of Oncology Practice, 10(1), e5-e9. https://doi.org/10.1200/JOP.2013.000903
Martin, D. B., Kaemingk, D., Frieze, D., Hendrie, P., and Payne, T. H. (2015). Safe Implementation of Computerized Provider order Entry for Adult Oncology. Applied Clinical Informatics, 6(4), 638-649. Retrieved July 12, 2018, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4704034/pdf/ACI-06-0638.pdf
Tungkhasamit, T., and Bamrung, I. (2017). Cumputerized physician ordering entry system for chemotherapy at Udon Thani Cancer Hospital. Journal of the Thai Medical Informatics Association, 2, 65-71. https://drive.google.com/file/d/1wgE649VSNuTC0R7-4xoOug-4kFJ2aUNN/view?pli=1
Ratanadatsakul, J., and Ratanadatsakul, P. (2017). Medication error can help the drug system. Retrieved May 31, 2021, from https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=303%3B
Sarngosone, N. (2018). CPE: Chemotherapy dosing in special populations: Amputees and obese patients. Retrieved July 11, 2018, from http://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=402
Sookprasert, A. (2011). A step by practical guide before giving chemotherapy. Retrieved July 11, 2018, from https://www.scribd.com/document/433366973/Step-by-Step-Guide-Before-Ct-2010-Version
Ettinger, D. S., Berger, M. j., Aston, J., Barbour, S., Bergsbaken, J., Bierman, P. J., Brandt, D., Dolan, D. E., Ellis, G., Kim, E. J., Kirkegaard, S., Kloth, D. D., Lagman, R., Lim, D., Loprinzi, C., Ma, C. X., Maurer, V., Michaud, L. B., Nabell, L. M., Noonan, K., Roeland, E., Rugo, H. S., Schwartzberg, L. S., Scullion, B., Timoney, J., Todaro, B., and Urba, S. G. (2017). Antiemesis Version 2.2017. Retrieved June 6, 2021, from https://oncolife.com.ua/doc/nccn/Antiemesis.pdf
Mancini, R., and Modlin, J. (2011). Chemotherapy administration sequence: A review of the literature and creation of a sequencing chart. Journal of Hematology Oncology Pharmacy, 1(1), 17-25. Retrieved June 6, 2021, from https://jhoponline.com/jhop-issue-archive/2011-issues/march-vol-1-no-1/13240-top-13240
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของวารสารสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต