การศึกษาการปนเปื้อนของฝุ่นละอองรวมภายในและภายนอกอาคาร A STUDY ON CONTAMINATION OF

Authors

  • กลิ่นประทุม ปัญญาปิง สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตรื มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่
  • ปิยรัตน์ วิจิตรพงษา สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตรื มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่
  • สุพตรา เตจารังษี สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตรื มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่

Keywords:

Total Suspended Particulate, Contamination, Building, Time Weighted Average Exposure

Abstract

บทคัดย่อ
   การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate, TSP) ในบรรยากาศที่อยู่ภายในและภายนอกอาคารเรียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ยธ.4) มทร.ล้านนา เชียงใหม่ และสิ่งปนเปื้อนในฝุ่นละอองรวม รวมทั้งความเข้มข้นเฉลี่ยของการรับสัมผัสโดยทำการเก็บตัวอย่างรวม 3 จุด จำนวนจุดละ 30 ตัวอย่าง ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอาการเฉพาะบุคคล และอีก 1 จุด ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างอากาศปริมาตรสูง จำนวน 40 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์แบบชั่งนำหนัก (Gravimetric) ส่วนสิ่งปนเปื้อนในฝุ่นละอองรวม ถูกตรวจหาด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงในระหว่าง เดือนมีนาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2554

    ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของ TSP ภายในอาคาร ได้แก่ ห้องเรียนยธ.4-302
มีค่า 123.8188 μg/m3 และห้องเรียนยธ.4-304 มีค่า 127.7387 μg/m3 ความเข้มข้นของ TSP ภายนอกอาคารบริเวณชั้น 2 ด้านข้างห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มีค่า 254.2876 μg/m3 และบริเวณชั้น 1 ด้านหลังห้องปฏิบัติการทางเคมีของสาขาวิชาเดียวกัน มีค่า 131.0608 μg/m3 สิ่งปนเปื้อนที่พบใน TSP ภายในอาคารจากทั้ง 2 ห้องเรียน ได้แก่ อนุภาคฝุ่นละออง (100%) เศษไม้ (57, 63%) ใยหิน (Asbestos) (33, 43%) และเถ้าลอย (Fly Ash) (27, 37%) ส่วนสิ่งปนเปื้อนที่พบใน TSP บริเวณภายนอกอาคารทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ อนุภาคฝุ่นละออง (100%) เถ้าลอย (43, 60%) ใยหิน (Asbestos) (37, 55%) เศษเหล็ก (48%) เส้นใยสังเคราะห์ (38%) เศษไม้ (30%) และอื่นๆ (<20%) และยังพบว่าค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของ TSP
ที่รับสัมผัสได้ภายในห้องเรียนของอาคารยธ.4 ในระยะเวลา 2 ชั่วโมง (30.9547, 31.9347 μg/m3) มีค่ามากกว่าในระยะเวลา 4 ชั่วโมง (61.9094, 63.8694 μg/m3) ประมาณ 2 เท่า


Abstract
    The purpose of the this study was to determine the quantity of total suspended particulate, TSP in ambient air both in and out of Faculty of Engineering Building (C-4) in Rajamangala University of Technology Lanna, Chiang Mai. The physical characteristic of contaminant and
concentration exposure of TSP were also determined. It was performed by using personal air sampler for 3 sampling points, and high volume air sampler for 1 sampling point. The total number
of air sample from personal air sampler was 30 samples for each sampling point, and the total number of air sample from high volume air sampler was 40 samples. All samples were analyzed by gravimetric method, and contaminants in TSP were determined by light microscope during March - December 2011.

   It was found that concentrations of TSP in building C-4; R4-302 and R4-304 were 123.8188 μg/m3, and 127.7387 μg/m3, respectively. The concentrations of TSP outside building C-4 in the 2nd floor where was near the Biological Laboratory (Bio. Lab.) of Environmental Engineering
Dept., and in the 1st floor where was near the Chemical Laboratory (Chem. Lab.) of the same Dept. were 254.2876 μg/m3, and 131.0608 μg/m3, respectively. The physical characteristics of contaminants in TSP in the building C-4 from 2 classrooms were found to be TS (100%), Wood Scrap (57, 63%), Asbestos (33, 43%), and Fly Ash (27, 37%). The contaminants in TSP outside that building from near Bio. and Chem. Lab. were found to be TSP (100%), Fly Ash (43, 60%), Asbestos (37, 55%), Iron Scrap (48%), Fiber (38%), Wood Scrap
(30%), and others (<20%). Moreover, the average concentrations of TSP exposure in the building C-4 from 2 classrooms in 2 hours (30.9547, 31.9347 μg/m3) were higher than those in 4 hours (61.9094, 63.8694 μg/m3) about 2 times.

 

 

 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กลิ่นประทุม ปัญญาปิง, สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตรื มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ปิยรัตน์ วิจิตรพงษา, สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตรื มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สุพตรา เตจารังษี, สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตรื มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-01-14

How to Cite

ปัญญาปิง ก., วิจิตรพงษา ป., & เตจารังษี ส. (2015). การศึกษาการปนเปื้อนของฝุ่นละอองรวมภายในและภายนอกอาคาร A STUDY ON CONTAMINATION OF. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 6(11, January-June), 1–15. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/28772