การวิเคราะห์และออกแบบสารสนเทศคุณภาพบาล้านซ์สกอร์ค้าร์ด เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการทางการแพทย์ กรณีศึกษา: ศูนย์บริการ สาธารณสุข 61 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร BALANCED SCORECARD QUALITY INFORMATION ANALYSIS AND DESIGN FOR SURVEYING PATIENT SATIS
Keywords:
Balanced Scorecard Quality Information for Surveying Patient Satisfaction, QIT (Quality Information Technology), QM (Quality Management), Acceptance and Need to UseAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบสารสนเทศคุณภาพบาล้านซ์สกอร์ค้าร์ด เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหาร 2) ศึกษาการยอมรับของผู้บริหาร ที่มีต่อสารสนเทศคุณภาพบาล้านซ์สกอร์ค้าร์ดเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการทางการแพทย์ 3) ศึกษาความต้องการใช้งานของผู้บริหารที่มีต่อสารสนเทศคุณภาพบาล้านซ์สกอร์ค้าร์ดเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการทางการแพทย์
ตัวอย่างในการวิจัยนี้ คือ 1) ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 2) หัวหน้าคลินิกทันตกรรม 3) หัวหน้างานเภสัชกรรม 4) หัวหน้าพยาบาล และ 5) หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ ประจำศูนย์บริการสาธารณสุข 61 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นคณะกรรมการบริหารเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ 1) สารสนเทศคุณภาพบาล้านซ์สกอร์ค้าร์ด เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการทางการแพทย์ จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบประเมินการยอมรับ และแบบประเมินความต้องการใช้งานสารสนเทศคุณภาพบาล้านซ์สกอร์ค้าร์ดดังกล่าว สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานคือ การทดสอบไค-สแควร์
ผลการวิจัยพบว่า สารสนเทศคุณภาพบาล้านซ์สกอร์ค้าร์ดเพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการทางการแพทย์ ที่ผู้วิจัยวิเคราะห์และออกแบบได้รับการยอมรับในระดับมากและมีความต้องการใช้งานจากผู้บริหาร โดยผู้ให้การยอมรับมีจำนวนมากกว่าผู้ไม่ให้การยอมรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Abstract
This research aimed to 1) analyze and design the Balanced Scorecard Quality Information for the managements to survey patient satisfaction, 2) study the acceptance of the managements on the Balanced Scorecard Quality Information for Surveying Patient Satisfaction, and 3) study the management's needs to use the Balanced Scorecard Quality Information for surveying patient satisfaction.
The samples in this study were 1) Health Center Director, 2) Chief of Dental Clinic, 3) Chief Pharmacist, 4) Head Nurse, and 5) Head of Social Work. The five samples were managerial committee of Health Center 61, Health Department, Bangkok Metropolitan Administration which were selected by the purposive sampling. The research tools were 1) a copy of Balanced Scorecard Quality Information for Surveying Patient Satisfaction and 2) acceptance evaluation and usage need evaluation form. The statistic used for hypothesis testing was the Chi-square test.
The results of this research found the Balanced Scorecard Quality Information for Surveying Patient Satisfaction analyzed and designed by the researcher was accepted in a very high level and was needed to use by the managements. The number of acceptors was higher than the number of deniers with the statistical significant level at 0.05.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.