การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องสารชีวโมเลกุลสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี THE DEVELOPMENT OF THE PROGRAMMED LESSON ON BIOMOLECULES FOR UNDERGRADUATE STUDENTS
Keywords:
Programmed lesson, Biomolecules, Tertiary levelAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องสารชีวโมเลกุลสำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องสารชีวโมเลกุล และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องสารชีวโมเลกุลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 1 ห้องเรียน มีนิสิต 47 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จากนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา วท 212 เคมีสำหรับครูวิทยาศาสตร์ 2 ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องสารชีวโมเลกุล 2) แบบตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับเนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูปโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนสำเร็จรูปโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) แบบทดสอบประจำบท 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 6) แบบตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม
กับพฤติกรรมที่ต้องการวัดเป็นรายข้อของแบบทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องสารชีวโมเลกุล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest-Posttest Design) เนื้อหาของบทเรียนสำเร็จรูปแบ่งเป็น 5 บท ได้แก่ บทนำ สารชีวโมเลกุล บทที่ 1 คาร์โบไฮเดรต บทที่ 2 ลิพิด บทที่ 3 โปรตีน และบทที่ 4 กรดนิวคลีอิก ผลการวิจัยพบว่า การประเมินคุณภาพของบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องสารชีวโมเลกุลโดยผู้เชี่ยวชาญมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (X– = 4.75, S.D.= 0.48) ผลการศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปพบว่าค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.15/83.52
สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่อง สารชีวโมเลกุลอยู่ในระดับมากที่สุด (X– = 4.52, S.D. = 0.55) นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากคำถามปลายเปิดที่วิเคราะห์ได้จากแบบสอบถามชี้ให้เห็นว่าผู้เรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องสารชีวโมเลกุล
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop the programmed lesson on biomolecules for undergraduate students 2) to study efficiency of the programmed lesson on biomolecules. 3) to compare the learning achievement of the students before and after learning with the programmed lesson and 4) to study students’ opinions toward the
programmed lesson. The sample group was one classroom (47 students) of the second year undergraduate students for bachelor of education degree, department of general science, faculty of science, Srinakharinwirot university using purposive sampling from the students
who registered the course of SC 212 chemistry for science teachers II which was taught by the researcher. The research tools consisted of 1) the programmed lesson on biomolecules 2) the consistency evaluation form by the experts 3) the quality evaluation form by the experts
4) the test of chapters 5) the achievement test (pretest-posttest) 6) the consistency evaluation of the achievement test by the experts and 7) the students’ opinions questionnaire toward learning using the programmed lesson. This research is an experimental research using the research design of One Group Pretest-Posttest Design. The contents of the programmed lesson consisted of 5 units: 1) Introduction of biomolecules 2) Carbohydrate 3) Lipids 4) Proteins
and 5) Nucleic acid. The results revealed that the programmed lesson assessed by the experts were at level of very good quality (X– = 4.75, S.D. = 0.48). The efficiency of the programmed lesson equal 85.15/83.52 which was higher than the 80/80 criteria as specified. The mean scores of the learning achievement of posttest were higher than those of pretest at the statistically significant 0.05 level. The students’ opinions toward the programmed lesson on biomolecules were at very good level of satisfaction (X– = 4.52, S.D. = 0.55). In addition, the results of the qualitative data from the questionnaire indicated that they have positive attitude toward learning using the programmed lesson.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.