ประโยชน์ของกากดินขาวลำปางต่อสมบัติเชิงกลของเนื้อดินเอิร์ทเทินแวร์ USE OF LAMPANG WHITE CLAY RESIDUAL FOR MECHANICAL PROPERTY OF EARTHENWARE CLAY
Keywords:
White clay residual, White clay, Lampang clay, Pottery, Earthenware clayAbstract
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแนวทางการนำกากดินขาวลำปางมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงสมบัติเชิงกลของเนื้อดินเอิร์ทเทินแวร์ให้ดีขึ้น ผู้เขียนจึงดำเนินการทดลองเปรียบเทียบสมบัติเชิงกลระหว่างเนื้อดินจากแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อดินชนิดเอิร์ทเทินแวร์กับเนื้อดินเอิร์ทเทินแวร์ที่มีกากดินขาวลำปางเป็นส่วนผสมการทดลองเริ่มจากการเตรียมเนื้อดิน การขึ้นรูปตัวอย่างการทดลอง และการวัดผลการทดลอง ผู้เขียนพบว่า กากดินขาวลำปางสามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์จากเนื้อดินชนิดเอิร์ทเทินแวร์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงสมบัติเชิงกลของเนื้อดินเอิร์ทเทินแวร์ให้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเนื้อดินจากแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อดินชนิดเอิร์ทเทินแวร์ ดังนี้ เนื้อดินมีความเหนียว มีความคงตัวและไม่สูญเสียสมบัติด้านความเหนียวไป เนื้อดินมีการหดตัวใกล้เคียงกับเนื้อดินจากแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อดินชนิดเอิร์ทเทินแวร์ เนื้อดินมีสมบัติด้านการดูดซึมน้ำดี ขึ้นหลังการเผาที่อุณหภูมิ 900, 1000 และ 1,100 องศาเซลเซียส ลดลงร้อยละ 1.76, 2.46 และ 4.24 ตามลำดับ และเนื้อดินมีสมบัติด้านความแข็งแกร่งดีขึ้น ก่อนและหลังการเผาที่อุณหภูมิ 900,
1000 และ 1,100 องศาเซลเซียส เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.14, 31.60, 25.62 และ 19.93 ตามลำดับ
Abstract
This article was written to show the way for improving mechanical properties of the earthenware clay using Lampang white clay residual. Mechanical properties of the clay from earthenware clay products and earthenware clay from a Lampang white clay residual compound were compared. The Experimental started to prepare clay body. It was then formed and measured properties of the samples. It was found that Lampang white clay residual could be used as an ingredient in earthenware clay. Besides, it was also improved the mechanical properties of the earthenware clay when it was compared with earthenware clay products. The clay is sticky and steady. Linear shrinkage of this clay had almost the earthenware clay products. The water absorption was increased with increasing temperature at 900, 1000 and 1,100๐C that was about 1.76, 2.46 and 4.24 percent, respectively. The bending strength of this sample was enhanced after fired at 900, 1000 and 1,100 ๐C, the bending strength by 23.14, 31.60, 25.62 and 19.93 percent respectively.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.