พืชสมุนไพรไทย: ประยงค์ (Aglaia odorata Lour.) (THAI MEDICINAL PLANT: PRAYONG (AGLAIA ODORATA LOUR.)

Authors

  • นันทิยา จ้อยชะรัด คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นันท์นภัส เพชรวรพันธ์ คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • บุญหลง ตุ้ยสุข คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • รัตนาวดี ศรีนวล คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

Aglaia odorata, Flavagline, Bisamide

Abstract

บทคัดย่อ

      ปัจจุบันพืชในสกุล Aglaia ได้รับความสนใจในการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพืชในสกุลนี้เป็นแหล่งของสารทุติยภูมิที่มีลักษณะเฉพาะและมีฤทธิ์ทางชีวภาพสูง โดยประยงค์ (Aglaia odorata Lour.) จัดเป็นพืชในสกุล Aglaia วงศ์ Meliaceae และมีการนำมาใช้ประโยชน์ทางยาพื้นบ้านไทยในการรักษาโรคที่หลากหลาย โดยส่วนต่างๆ ของประยงค์ (ใบ กิ่ง ดอก ราก) มีข้อมูลรายงานการวิจัยพบสารกลุ่ม flavagline และ bisamide ซึ่งแสดงฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ เช่น ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านไวรัส ฤทธิ์ต้านเชื้อรา และฤทธิ์ฆ่าแมลง โดยสารเหล่านี้บางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่เป็นอนุพันธ์ของ cyclopenta[b]benzofuran มีศักยภาพที่จะนำไปพัฒนาเป็นยาชนิดใหม่เพื่อใช้ในทางการแพทย์ หรือใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเพื่อควบคุมศัตรูพืช ในบทความนี้จะกล่าวถึงลักษณะพืช ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ องค์ประกอบทางเคมี และข้อมูลการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจของประยงค์

 

Abstract

 

      Aglaia species have recently received increasing scientific focus due to their ability to produce an attractive unique group of secondary metabolites with bioactivities potential. Aglaia odorata Lour., commonly known as “Prayong” in Thailand, belongs to the family Meliaceae and is among the medicinal plants used in Thai traditional medicine for curing various diseases. The different parts of A. odorata (leaves, twigs, flowers, roots) have been reported to contain biologically active classes of compounds, including flavagline and bisamide. Some metabolites belonging to flavagline and bisamide groups have been described previously to exhibit anticancer, antiviral, antifungal and insecticidal activities. Considering these biologically interesting substances especially cyclopenta[b]benzofuran derivatives, they may serve as candidates for new drugs in the treatment and prevention of human diseases and pest management. In this paper, the morphological features, habitat and distribution, chemical constituents, as well as biological activities of A. odorata are reviewed.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

นันทิยา จ้อยชะรัด, คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตรืทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครีนทรวิโรฒ

นันท์นภัส เพชรวรพันธ์, คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตรืทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครอนทรวิโรฒ

บุญหลง ตุ้ยสุข, คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตรืทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครอนทรวิโรฒ

รัตนาวดี ศรีนวล, คณะแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตรืทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครอนทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-02-27

How to Cite

จ้อยชะรัด น., เพชรวรพันธ์ น., ตุ้ยสุข บ., & ศรีนวล ร. (2015). พืชสมุนไพรไทย: ประยงค์ (Aglaia odorata Lour.) (THAI MEDICINAL PLANT: PRAYONG (AGLAIA ODORATA LOUR.). Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 5(9, January-June), 93–110. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/31560