ความเป็นพิษของแอนทราซีนและฟีแนนทรีนที่ปนเปื้อนในดินต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นกล้าพืชตระกูลถั่วหลังงอก (PHYTOTOXICITY OF ANTHRACENE AND PHENANTHRENE CONTAMINANTS IN SOIL ON LEGUME SEED GERMINATION AND SUBSEQUENT SEEDLING GROWTH)

Authors

  • ขนิษฐา สมตระกูล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ดวงอนงค์ ผลาผล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วราภรณ์ ฉุยฉาย สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Keywords:

Seed germination, Seedling growth, Toxicity testing, Legume, Polycyclic aromatic hydrocarbons

Abstract

บทคัดย่อ

      ศึกษาความเป็นพิษของพีเอเอชสองชนิด คือ ฟีแนนทรีนและแอนทราซีนต่อการงอกและการเจริญของต้นกล้าถั่วสามชนิด คือ ถั่วเขียว (Vigna radiata) ถั่วพุ่ม (Vigna sinensis) และถั่วฝักยาวเนื้อนวล (Vigna sesquipedalis) พบว่า ทั้งฟีแนนทรีนและแอนทราซีนไม่มีผลต่อร้อยละการงอกของถั่วทุกชนิด แต่จะทำให้ความยาวยอดและรากของถั่วลดลงเมื่อมีความเข้มข้นในดินมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมดินแห้ง ฟีแนนทรีนทำให้น้ำหนักสดของถั่วพุ่มและถั่วฝักยาวเนื้อนวลลดลง แต่ไม่มีผลต่อน้ำหนักสดของถั่วเขียว และทำให้น้ำหนักแห้งของถั่วพุ่มลดลง แอนทราซีนมีผลให้น้ำหนักแห้งของถั่วทุกชนิดลดลง แต่มีผลกระทบต่อน้ำหนักสดของถั่วพุ่มเท่านั้น ถั่วพุ่มเป็นถั่วที่มีความไวต่อการปนเปื้อนฟีแนนทรีนและแอนทราซีนในดินมากที่สุด ส่วนถั่วฝักยาวเนื้อนวลมีแนวโน้มทนทานต่อพีเอเอชทั้งสองชนิด ทั้งฟีแนนทรีนและแอนทราซีนแสดงความเป็นพิษต่อความยาวยอดและความยาวรากเหมือนกัน แต่แสดงความเป็นพิษต่อน้ำหนักต่างกัน โดยฟีแนนทรีนแสดงความเป็นพิษต่อน้ำหนักสดของพืช ส่วนแอนทราซีนแสดงความเป็นพิษต่อน้ำหนักแห้ง

 

Abstract


      The phytotoxicity of phenanthrene and anthracene on three legume seed germination and seedling growths, namely mungbean (Vigna radiata), cow pea (Vigna sinensis) and longbean (Vigna sesquipedalis) were studied. Both of phenanthrene and anthracene did not affect seed germination but decreased shoot and root length of all beans significantly when their concentration in soil were higher than 200 mg/kg. Phenanthrene decreased fresh weight of cow pea and long bean but not affected mungbean fresh weight. Phenanthrene decreased dry weight of cow pea significantly. Anthracene decreased dry weight of all beans but decreased fresh weight of only cow pea. With these results, cow pea was judged to be the most sensitive plant when longbean was the most tolerant one. The toxicity of phenanthrene and anthracene to shoot and root length were similar while their toxicity to plant weight were different. Phenanthrene was toxic to fresh weight but anthracene was toxic to dry weight.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ขนิษฐา สมตระกูล, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธสาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ดวงอนงค์ ผลาผล, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธสาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วราภรณ์ ฉุยฉาย, สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธสาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-02

How to Cite

สมตระกูล ข., ผลาผล ด., & ฉุยฉาย ว. (2015). ความเป็นพิษของแอนทราซีนและฟีแนนทรีนที่ปนเปื้อนในดินต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญของต้นกล้าพืชตระกูลถั่วหลังงอก (PHYTOTOXICITY OF ANTHRACENE AND PHENANTHRENE CONTAMINANTS IN SOIL ON LEGUME SEED GERMINATION AND SUBSEQUENT SEEDLING GROWTH). Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 4(7, January-June), 1–12. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/31624