การออกแบบและสร้างเครื่องทำความสะอาดคราบน้ำมันของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ (DESIGN AND CONSTRUCTION OF ENGINE PARTS OIL CLEANING MACHINE)

Authors

  • นิพนธ์ ราชวุฒิ สาขาวิชาอุตสาหกรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ไพรัช วงศ์ยุทธไกร สาขาวิชาอุตสาหกรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • โอภาส สุขหวาน สาขาวิชาอุตสาหกรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Design and Construction, Oil Cleaning Machine, Engine Parts

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ออกแบบและสร้างเครื่องทำความสะอาดคราบน้ำมันของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ (2) ประเมินสมรรถนะเครื่องทำความสะอาดคราบน้ำมันของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ผู้วิจัยทำการทดลอง โดยเลือกชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่มีคราบน้ำมันหล่อลื่นติดอยู่แบบเจาะจง ได้แก่ ฝาครอบวาล์ว ฝาสูบ เพลาข้อเหวี่ยง อ่างน้ำมันเครื่อง ลูกสูบและก้านสูบ เพลาลูกเบี้ยว และ ลิ้นไอดีและลิ้นไอเสีย เครื่องมือวิจัยที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการทำความสะอาด และแบบประเมินลักษณะทางกายภาพ ทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) 

ผลการวิจัยพบว่า 
1) การออกแบบและสร้างเครื่องทำความสะอาดคราบน้ำมันของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ โครงสร้างเป็นเหล็กมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 786 มิลลิเมตร ความสูง 1,132 มิลลิเมตร ใช้ปั๊มน้ำชนิดเซนตริฟูกอล ขนาด 2 แรงม้า จำนวน 1 ตัว ทำหน้าที่สร้างแรงดันให้หัวฉีดทำความสะอาด จำนวน 10 หัว และหัวฉีดขับหมุนตะกร้ารองรับชิ้นส่วน จำนวน 2 หัว ใช้ฮีทเตอร์ ขนาด 4,500 วัตต์ จำนวน 2 ชุด ทำหน้าที่เพิ่มอุณหภูมิให้กับสารทำความสะอาด และใช้เทอร์โมสตัทเป็นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิสารทำความสะอาดให้มีความร้อนตามกำหนด สามารถทำความสะอาดชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่มีความสูงไม่เกิน 200 มิลลิเมตร ความยาวและกว้างไม่เกิน 500 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักไม่เกิน 30 กิโลกรัม 

2) ผลการประเมินสมรรถนะเครื่องทำความสะอาดคราบน้ำมันของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ มีความสามารถในการทำความสะอาดผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด และลักษณะทางกายภาพอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าเฉลี่ย 4.32 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.342 และค่าที (t-test) 2.827 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานในการวิจัย

 

 

Abstract

 

      The objectives of this research were to: 1) Design and construction of an oil-cleaning machine for engine parts; and 2) evaluate the performance of an oil-cleaning machine for engine parts. Researcher conducted tests by selecting engine parts with oil stains by using the Purposive Sampling method. The engine parts tested in this study were the Valve Cover, Cylinder Head, Crank Shaft, Oil Pan, Piston and Connecting Rod, Camshaft, Intake Valve, and Exhaust Valve. The data was collected by using Evaluation of cleaning ability and physical attribute Assessment and by nine experts who evaluated the performance of oil-cleaning machine. The statistics used to analyze the data are Arithmetic Mean, Standard Deviation, and t-test.

The results of this research found that:
1) The design and construction of the oil-cleaning machine for engine parts. The structure is steel with a diameter of 786 mm, height 1,132 mm. One, 2-horse power, centrifugal water pump feeds 10 pressure nozzles as well as a rotating basket with 2 heads. Two 4,500-watt heaters raise the temperature of the cleaning agent. A thermostat adjusts the temperature probe of the cleaning agent to the required temperature. Parts not exceeding a height of 200 mm, 500 mm in length and width, and weighing up to 30 kilogram can be cleaned.

2) The evaluation of the oil-cleaning machine for engine parts. The criteria specified for cleaning ability and tolerances for good physical attribute stipulates the Average Mean 4.32, Standard Deviation 0.342, and t-test 2.827, which are congruent with the research hypothesis.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

นิพนธ์ ราชวุฒิ, สาขาวิชาอุตสาหกรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ไพรัช วงศ์ยุทธไกร, สาขาวิชาอุตสาหกรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

โอภาส สุขหวาน, สาขาวิชาอุตสาหกรรม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-02

How to Cite

ราชวุฒิ น., วงศ์ยุทธไกร ไ., & สุขหวาน โ. (2015). การออกแบบและสร้างเครื่องทำความสะอาดคราบน้ำมันของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ (DESIGN AND CONSTRUCTION OF ENGINE PARTS OIL CLEANING MACHINE). Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 4(7, January-June), 73–90. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/31636