การสำรวจเฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์นเพื่อออกแบบสื่อความหมายธรรมชาติบริเวณพื้นที่ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและป่าต้นน้ำนาแห้วและพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดเลย
Keywords:
Ferns and Fern Allies, Nature Interpretation Design, Srinakharinwirot University, Na Haeo, Loei ProvinceAbstract
บทคัดย่อการสำรวจเฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์นบริเวณพื้นที่ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและป่าต้นน้ำนาแห้วและพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดเลย ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 จำแนกได้ 17 วงศ์ 24 สกุล 36 ชนิด จัดเป็นพืชใกล้เคียงเฟิร์นจำนวน 4 วงศ์ 4 สกุล 4 ชนิด และเฟิร์นจำนวน 13 วงศ์ 20 สกุล 32 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด ได้แก่ Polypodiaceae พบจำนวน 9 ชนิด สามารถแบ่งตามลักษณะถิ่นอาศัยได้ 3 แบบ คือ ขึ้นบนดิน จำนวน 21 ชนิด พืชอิงอาศัย จำนวน 6 ชนิด ขึ้นบนหิน จำนวน 7 ชนิด และมีถิ่นอาศัยมากกว่า 1 แบบ จำนวน 2 ชนิด พื้นที่ศึกษามีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับภูเขา ความสูง 450-570 เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเบญจพรรณและป่าไผ่ มีลำธารและน้ำตกหลายแห่ง แต่อย่างไรก็ตามบางส่วนของพื้นที่พบการบุกรุกทำลายซึ่งเป็นผลมาจากการแผ้วถางและทำการเกษตร ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบสื่อความหมายธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชนอันจะส่งผลให้เกิดการสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
Abstract
A survey of ferns and fern allies in the surrounding areas of the environmental study and conservation center, Srinakharinwirot University and Na Haeo headwaters forest reserve and adjacent areas, Loei Province started from December 2009 to November 2010. Seventeen families, 24 genera, 36 species were identified. Among these, 4 families, 4 genera, 4 species were fern aliies, while 13 families, 20 genera, 32 species were ferns. Nine species were recognized in a dominant family, Polypodiaceae. Based on the types of habitat, it was found that there were 21 species of terrestrial plants, 6 species of epiphytes, 7 species of lithophytes and 2 species of ferns which could be found in more than one type of habitat. This study area was located in the highland alternating with mountains, 450-570 meters above sea level. The vegetation types included deciduous forest and bamboo forest with many streams and waterfalls. However, some parts of this study area were destroyed as a consequence of clearing and farming. Therefore, this study provided a fundamental information of the nature interpretation design as a source of lifelong learning which will cultivate public consciousness in sustainable conservation and utilization of the natural resources in the future.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.