การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • ธิดารัตน์ ลือโลก ภาควิชามัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Computer Multimedia Instruction, Achievement, Spatial Ability

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ภาคตัดกรวย เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนภายหลังจากการเรียนกับเกณฑ์ และเปรียบเทียบความสามารถเชิงปริภูมิของนักเรียนภายหลังจากการเรียนกับเกณฑ์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนสตรีอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนทั้งหมด 50 คน ใช้เวลาในการสอน 20 คาบ แบบแผนการวิจัยเป็นแบบ Randomized One-Group Posttest-only Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t-test for one sample

ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ภาคตัดกรวย เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าเฉลี่ย 86.02/84.72

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายหลังจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ภาคตัดกรวย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3. ความสามารถเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายหลังจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง ภาคตัดกรวย สูงกกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

 

 

Abstract

 

      The purposes of this research were to develop computer multimedia instruction on conic sections to enhance learning achievement and spatial ability of mathayomsuksa IV students, as of the standardized criterion 80/80, to compare students’ achievement after learning with a criterion and to compare students’ spatial ability after learning with a criterion.

The subjects of this study were 50 Mathayomsuksa IV students in the second semester of 2010 academic year from Satri Angthong School,Angthong. They were selected by using cluster random sampling technique. The experiment lasted for 20 periods. The randomized control-group posttest-only design was used for this study. The data were analyzed by using t-test for one sample.

   The findings were as follows:
1. The efficiency of the computer multimedia instruction on conic sections to enhance learning achievement and spatial ability of Mathayomsuksa IV students was 86.02/84.72 higher than the 80/80 criteria.

2. The mathematics achievement of Mathayomsuksa IV students after learning by computer multimedia instruction on conic sections was significantly higher than 65 percentage criterion at the 0.01 level of significance.

3. The spatial ability of Mathayomsuksa IV students after learning by computer multimedia instruction on conic sections was significantly higher than the 65 percentage criterion at the 0.01 level of significance.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ธิดารัตน์ ลือโลก, ภาควิชามัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ

Published

2015-03-03

How to Cite

ลือโลก ธ. (2015). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถเชิงปริภูมิของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 3(6, July-December), 37–43. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/31734