การตั้งตำรับครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากบัวบก (FORMULATION OF CREAM CONTAINING EXTRACT FROM CENTELLA ASIATICA)

Authors

  • ดวงกมล เลียวกิตติกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิภาวี ชัยวิรัตนะ โรงพยาบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
  • มานิตา หาญพานิชเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ฉันทนา อารมย์ดี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

Centella cream, Asiaticoside, Asiatic acid, Physical stability tests

Abstract

บทคัดย่อ
     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบบัวบก โดยการพัฒนายาพื้นครีม 3 สูตรตำรับ รวมทั้งการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพของยาพื้นครีม ซึ่งได้แก่ ลักษณะเนื้อครีม การแยกชั้น ความติดผิว ความเหนียวเหนอะหนะ ความง่ายในการกระจายบนผิว และความรู้สึกเมื่อทา คัดเลือกตำรับที่มีคุณสมบัติทางกายภาพดีที่สุด (ตำรับที่ 3) มาเตรียมครีมบัวบก 1% พบว่า ครีมบัวบกนี้มีความคงตัวทางกายภาพดีเมื่อผ่านการทดสอบความคงตัวที่สภาวะเร่ง โดยเก็บที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส 48 ชั่วโมง จากนั้นเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส 48 ชั่วโมง ทำเช่นนี้นับเป็น 1 รอบ ทำการทดสอบทั้งหมด 6 รอบ จากการวิเคราะห์เชิงกึ่งปริมาณ (semi-quantitative analysis) เพื่อหาปริมาณสารสำคัญของสารสกัดบัวบก และครีมบัวบก 1% โดยวิธีทินเลเยอร์โครมา โทกราฟิคเดนซิโตเมตรี โดยใช้สารเปรียบเทียบ คือ สารมาตรฐานอะเซียติโคไซด์ และสารมาตรฐานกรดอะเซียติค พบว่า อะเซียติโคไซด์และกรดอะเซียติคในครีมบัวบกที่เตรียมได้มีความคงตัวในครีมที่เตรียมขึ้น


     Abstract      The objective of this work was to formulate a cream containing dried extract from Centella asiatica. Three cream bases were formulated and evaluated for their physical properties which are texture, phase separation, adhereness to skin, greasiness, spreadability and feeling when applying the cream. Cream base with the best physical properties (formulation 3) was selected and incorporated with the 1% centella extract. The result showed that the stability of the 1% centella cream after preparation and being stored at 45°C for 48 hours and 4°C for 48 hours 6 cycles was stable. Asiaticoside and asiatic acid from centella extract and 1% centella cream were semi-quantified by thin layer chromatographic densitometry, using asiaticoside and asiatic acid as standards. It was found that the asiaticoside and asiatic acid are stable in this cream.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ดวงกมล เลียวกิตติกุล, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิภาวี ชัยวิรัตนะ, โรงพยาบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มานิตา หาญพานิชเจริญ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฉันทนา อารมย์ดี, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-10

How to Cite

เลียวกิตติกุล ด., ชัยวิรัตนะ ว., หาญพานิชเจริญ ม., & อารมย์ดี ฉ. (2015). การตั้งตำรับครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากบัวบก (FORMULATION OF CREAM CONTAINING EXTRACT FROM CENTELLA ASIATICA). Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 2(4, July-December), 39–53. retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/31882