การพัฒนาบทเรียนโปรแกรม เรื่อง สารอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี (THE DEVELOPMENT OF A PROGRAMMED LESSON ON ORGANIC COMPOUNDS FOR UNDERGRADUATE STUDENTS)

Authors

  • น้ำฝน คูเจริญไพศาล ภาควิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

Programmed lesson, Organic compounds

Abstract

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างบทเรียนโปรแกรมเรื่องสารอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังใช้บทเรียนโปรแกรม และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนโปรแกรมที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 36 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง แบบแผนการทดลองที่ใช้ คือ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนโปรแกรมเรื่องสารอินทรีย์ 2) แบบตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบของบทเรียนโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนโปรแกรม เนื้อหาในบทเรียนโปรแกรมประกอบด้วย 6 หน่วย ได้แก่ 1) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารอินทรีย์ 2) ไอโซเมอริซึมและไอโซเมอร์ 3) ประเภทของสารอินทรีย์และหมู่ฟังก์ชัน 4) การเรียกชื่อสารอินทรีย์ 5) ปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ และ 6) ประโยชน์และความสำคัญของสารอินทรีย์ ผลการทดลองใช้บทเรียนโปรแกรม พบว่านิสิตที่เรียนโดยใช้บทเรียนโปรแกรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนิสิตมีความพึงพอใจต่อบทเรียนโปรแกรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26, S.D. = 0.66)


Abstract


     The purposes of the study were 1) to construct the programmed lesson on organic compounds for undergraduate students 2) to study the learning achievement of the students before and after learning with the programmed lesson and 3) to study students’ opinions toward the programmed lesson. The sample group was a second year undergraduate students for bachelor of education degree, faculty of science, Srinakharinwirot university (N=36) using purposive sampling. The research design of One Group Pretest-Posttest Design was used in this study. The research tools consisted of 1) the programmed lesson 2) the consistency evaluation form 3) the quality evaluation form by the experts 4) the achievement test and 5) the students’ opinions questionnaire toward the programmed lesson. The content of the programmed lesson consisted of 6 units: 1) Introduction of organic compounds 2) Isomerism and isomer 3) Classification of organic compounds and functional groups 4) Nomenclature of organic compounds 5) Reaction of organic compounds and 6) Importance of organic compounds and applications. The results revealed that the mean scores of the learning achievement of posttest were higher than those of pretest at the statistically significant 0.05 level. The students’ opinions toward the programmed lesson were at very good level of satisfaction (Average Mean 4.26, S.D. = 0.66).


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

น้ำฝน คูเจริญไพศาล, ภาควิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-10

How to Cite

คูเจริญไพศาล น. (2015). การพัฒนาบทเรียนโปรแกรม เรื่อง สารอินทรีย์ สำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี (THE DEVELOPMENT OF A PROGRAMMED LESSON ON ORGANIC COMPOUNDS FOR UNDERGRADUATE STUDENTS). Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 2(4, July-December), 54–67. retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/31884