การศึกษาและพัฒนาสมบัติของดินกระดาษเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา (STUDY AND DEVELOPMENT PROPERTIES OF PAPERCLAY USE FOR POTTERY)
Keywords:
Paper clay, Pottery, Bangban clayAbstract
บทคัดย่อการศึกษาและพัฒนาสมบัติของดินกระดาษเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของดินอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หาอัตราส่วนผสมของเนื้อดินปั้นระหว่างกระดาษ ดินพื้นบ้านอำเภอบางบาล ดินขาวลำปาง และทรายละเอียด ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากตารางสี่เหลี่ยมได้ส่วนผสม 36 สูตร โดยศึกษาสมบัติทางกายภาพก่อนและหลังการเผาที่อุณหภูมิ 850 และ 1,230 องศาเซลเซียส บรรยากาศออกซิเดชันและทดลองขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ผลการวิจัยได้ส่วนผสมที่เหมาะสม คือ ส่วนผสมที่ 7 มีส่วนผสมของดินบางบาล ร้อยละ 50 กระดาษร้อยละ 40 ดินขาวลำปาง ร้อยละ 10 และทราย ร้อยละ 0 มีคุณสมบัติทางกายภาพหลังการเผาที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียสได้แก่ การหดตัวเฉลี่ย 8.10 การดูดซึมน้ำเฉลี่ย 22.13 ความแข็งแรงเฉลี่ย 11.49 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ทนไฟอุณหภูมิ 850 ได้ สีของแท่งทดลองหลังจากเผาตรงกับ 723U น้ำหนักเฉลี่ย 42.69 กรัม อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส ได้แก่ การหดตัวเฉลี่ย 15.48 การดูดซึมน้ำเฉลี่ย 3.35 ความแข็งแรงเฉลี่ย 57.02 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร การทนไฟอุณหภูมิ 1,230 ได้ สีของแท่งทดลองหลังจากเผาตรงกับ 729U น้ำหนักเฉลี่ย 41.77 กรัม สามารถใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาประเภทสโตนแวร์ได้
Abstract
In this research is to study and develop the paperclay properties for using pottery case. The purposes of this study are consideration in the physical qualifications to find out the mixture ratio of Bangban clay, Lampang clay and fine sand. The sample size of this research used the purposive sampling plan from aquadrilateral diagram which the sample size is 36 mixtures. There are two experiments for studying the physical properties considered before and after the material burn at 850 Degrees Celsius and 1,230 Degrees Celsius. The experiment is controlled under a oxidation atmosphere and then the product is tested by forming technique.
The result is shown that proportion of the mixture samples no.7 shows the Bangban clay 50 percents, Paper 40 percents, Lampang clay 10 percents and fine sand 0 percent. The physical properties after burning in the temperature with 850 Degrees Celsius were the firing shrinkage were 8.10 percents, the water absorption was 22.13 percents, modulus of rupture 11.49 kg/cm2, Softening Point at 850 Degrees Celsius , Fired color of 723U and Average weight 42.69. The physical qualifications after firing 1,230 Degrees Celsius were the firing shrinkage were 15.48 percents, the water absorption was 3.35 percents, modulus of rupture 57.02 kg/cm2, Softening Point at 1,230 Degrees Celsius, Fired color of 729U and Average weight 41.77. It can make Stoneware Pottery.
Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2015-03-11
How to Cite
สถิตย์พนาวงศ์ เ., & หามนตรี เ. (2015). การศึกษาและพัฒนาสมบัติของดินกระดาษเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา (STUDY AND DEVELOPMENT PROPERTIES OF PAPERCLAY USE FOR POTTERY). Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 2(3, January-June), 38–45. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/31910
Issue
Section
บทความวิจัย
License
Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.