การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก

Authors

  • กุศลิน บัวแก้ว สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ชาญชัย ทองประสิทธิ์ สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • พัชรินทร์ เหสกุล สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Keywords:

Plastic products industry, Efficiency of Energy Consumption

Abstract

บทคัดย่อ
     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานในปัจจุบัน วิเคราะห์และจัดทำระบบฐานข้อมูลเชิงลึกทางด้านโครงสร้างการใช้พลังงาน วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแนวทาง และเสนอข้อเสนอแนะ กลยุทธ์ มาตรการ แผนงาน และโครงการในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ศึกษาสภาพการใช้พลังงานจากโรงงานตัวอย่าง รวมทั้งการดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Focus Group) เกี่ยวกับแผนดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการจัดสัมมนาเพื่อนำเสนอผลการศึกษา ร่างกลยุทธ์ มาตรการ แผนงานโครงการการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     จากผลการวิจัยพบว่า ค่าการใช้พลังงานต่อหน่วยผลผลิต (Specific Energy Consumption : SEC) ประเภทกระบวนการเป่าของไทย มีค่าสูงสุดเท่ากับ 10,252.80 MJ/Ton ในขณะที่ต่างประเทศมีค่าระหว่าง 5,400-7,200 MJ/Ton ส่วนโรงงานตัวอย่างของไทย มีค่าเท่ากับ 8,989.30 MJ/Ton สำหรับค่าการใช้พลังงานต่อหน่วยผลผลิตประเภทกระบวนการฉีดของไทย มีค่าสูงสุดเท่ากับ 16,016.40 MJ/Ton ในขณะที่ต่างประเทศมีค่าเท่ากับ 11,520 MJ/Ton ส่วนโรงงานตัวอย่างของไทย มีค่าเท่ากับ 11,898.99 MJ/Ton ซึ่งจากการเยี่ยมชมโรงงานตัวอย่างและประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า เครื่องจักรที่โรงงานใช้ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปีขึ้นไป เนื่องจากการลงทุนในแต่ละเครื่องมีราคาสูง นอกจากนี้มอเตอร์ถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องจักรทุกประเภท อีกทั้งการใช้ความดันในระบบอากาศอัดในกระบวนการเป่ายังไม่เหมาะสม และที่สำคัญมีปัญหาการเข้าออกของคนงานค่อนข้างมาก ทำให้ต้องมีการสอนงานกับคนงานใหม่ๆ ตลอดเวลา ดังนั้นการปรับปรุงค่าการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก จึงควรพิจารณาถึง การหุ้มฉนวน การควบคุมอุณหภูมิ การพิจารณาในเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบอากาศอัด และที่สำคัญคือ การเพิ่มสมรรถนะบุคลากรเกี่ยวกับพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติก โดยสรุปได้เป็น 3 กลยุทธ์ 4 มาตรการ และ 9 โครงการ

 Abstract

 

     The aim of this research is to investigate the current energy consumption, the creation of an energy consumption database, and analyzing feasibility, guidance of methods, strategies, measures, and plans for improving the efficiency of energy consumption for the plastic products industry. Data were collected from various sources: (1) research studies and related documents from Thailand and elsewhere; (2) details of energy consumption in prototype industrial plants; (3) a workshop for the research’s focus group on an operational plan for the improvement of energy consumption efficiency; and (4) a seminar for the presentation of the findings and of the drafting of strategies, measures, and plans for the improvement of energy consumption efficiency, and for collecting thoughts and suggestions from experts in the industrial sector and related fields.

      The Specific Energy Consumption (SEC) for Thailand’s blow molding was found to be as high as 10,252.80 MJ/ton, while that in other countries ranged from 5,400 to 7,200 MJ/ton. The SEC in Thailand’s prototype plants was 8,989.30 MJ/ton. As for Thailand’s injection molding process, its SEC reached 16,016.40 MJ/ton, compared to 11,520 MJ/ton in other countries. The SEC for the prototypical plants was 11,898.99 MJ/ton. The visits to prototypical plants and the focus group workshop showed that most machines are used in industrial plants at least 10 years, as the cost of machine investment is high. In addition, motors were considered as a part of all machines. An incorrect pressure used in the compressed air system for the blow molding process was found, and plants were found to have a high turnover rate, requiring constant new training sessions. For this reason, improving the efficiency of energy consumption should involve consideration of insulation, temperature control, electrical motor machines, compressed air systems and, importantly, increasing staff competency in plastic industrial plants. Finally, three strategies, four measures, and nine projects are proposed.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

กุศลิน บัวแก้ว, สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ชาญชัย ทองประสิทธิ์, สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พัชรินทร์ เหสกุล, สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-12

How to Cite

บัวแก้ว ก., ทองประสิทธิ์ ช., & เหสกุล พ. (2015). การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 1(2, July-December), 60–69. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/31952