การพัฒนาเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (DEVELOPMENT OF LEARNING OBJECT ON SOLAR SYSTEM FOR PRATHOMSUKSA 4 STUDENTS)

Authors

  • จิราภา เหลืองพุฒิกุลชัย ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จงกล แก่นเพิ่ม ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กอบกุล สรรพกิจจำนง ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Keywords:

Learning Object, Prathomsuksa 4 students, satisfaction

Abstract

บทคัดย่อ

 

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่องระบบสุริยะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพโดยผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนหลังเรียน จากการเรียนด้วยเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่องระบบสุริยะ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบสุริยะ

      กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม จำนวน 30 คน โดยมีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากประชากรจากโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่องระบบสุริยะ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลจากความถี่ ร้อยละ และค่า t-test

     ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี 2) คะแนนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด 

 

Abstract


      The purposes of the research were 1) to develop Learning Object on Solar System for Prathomsuksa 4 students with quality level as “good” according to experts evaluation, 2) to compare the students pre-test scores and post-test scores, 3) to study the students satisfaction on the developed Learning Object.

     The subject was 30 Prathomsuksa 4 students at Watthammapirataram School. The research tools utilized in this study were Learning Object, pre-test, post-test, and questionnaires. The data were analyzed using frequency, percentage, and t-test.

     The research results were 1) the developed Learning Object was evaluated by the experts at good quality level, 2) the students post-test scores after studying through Learning Object were statistically significant higher than the students pre-test scores at 0.05 level, and 3) the students satisfaction on developed Learning Object was at the most level.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

จิราภา เหลืองพุฒิกุลชัย, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จงกล แก่นเพิ่ม, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

กอบกุล สรรพกิจจำนง, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-12

How to Cite

เหลืองพุฒิกุลชัย จ., แก่นเพิ่ม จ., & สรรพกิจจำนง ก. (2015). การพัฒนาเลิร์นนิง ออปเจ็กต์ เรื่อง ระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (DEVELOPMENT OF LEARNING OBJECT ON SOLAR SYSTEM FOR PRATHOMSUKSA 4 STUDENTS). Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 1(2, July-December), 70–77. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/31963