การแยกน้ำมันและของแข็งออกจากน้ำทิ้งของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วยวิธีการทางชีวภาพโดยใช้จุลินทรีย์และเอนไซม์ (SEPARATION OF OIL AND SOLIDS FROM PALM OIL MILL EFFLUENT BY BIOLOGICAL METHOD USING ENZYME AND MICROORGANISM)

Authors

  • เสถียรพงษ์ อุดมศิลป์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พูนสุข ประเสริฐสรรพ์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลียสงขลานครินทร์

Keywords:

separated oil and solid from the decanter effluent, microorganism and enzyme, bulking solid, COD, POME

Abstract

บทคัดย่อ
     โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเป็นหนึ่งในสามอุตสาหกรรมหลักภาคใต้ของไทย มีน้ำเสียเกิดขึ้นในปริมาณมากและมีสารอินทรีย์สูง เมื่อวิเคราะห์น้ำทิ้งดีแคนเตอร์ของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม พบว่ามีพีเอช 4.7 ค่าซีโอดี น้ำมัน ของแข็งทั้งหมด และของแข็งแขวนลอย เท่ากับ 48.4, 25.6, 60.3 และ 40.8 กรัมต่อลิตร ตามลำดับ จากการเลี้ยงแบคทีเรียจำนวน 6 สายพันธุ์ คือ SU5, SU6, SU9, WD7, WD79 และ WD90 ในน้ำทิ้งดีแคนเตอร์ พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ SU5 และ SU9 สามารถแยกน้ำมันในน้ำทิ้งดีแคนเตอร์ได้ดีที่สุดเท่ากับ 44.4% และ 49.5% ตามลำดับ หลังจากการเลี้ยงเชื้อ 24 ชั่วโมง และตั้งทิ้งไว้เป็นเวลา 9 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง (30±3 องศาเซลเซียส) บนเครื่องเขย่า 200 รอบต่อนาที เกิดลักษณะตะกอนลอยปริมาณ 30.2% และ 36.1% ตามลำดับ เมื่อทดสอบการใช้เอนไซม์เกรดทางการค้า 2 ชนิด คือ เซลลูเลส และเพคติเนส ในน้ำทิ้งดีแคนเตอร์ของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม พบว่าเอนไซม์เซลลูเลสสามารถแยกน้ำมันและของแข็งออกจากน้ำทิ้งดีแคนเตอร์ได้ดีกว่าเอนไซม์เพคติเนส และกิจกรรมของเอนไซม์เซลลูเลสต่ำสุดที่ทำให้เกิดการแยกน้ำมันและของแข็ง (ตะกอนลอย) คือ 10 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ภายในเวลา 150 นาที โดยสามารถแยกน้ำมันได้ 41.3% เกิดลักษณะตะกอนลอย 32.3% สำหรับการแยกน้ำมันและของแข็งจากน้ำทิ้งดีแคนเตอร์ที่โรงงานในถังขนาด 100 ลิตร โดยใช้เชื้อสายพันธุ์ SU5 และ SU9 พบว่าเชื้อสายพันธุ์ SU9 สามารถแยกน้ำมันในน้ำทิ้งดีแคนเตอร์ได้ดีกว่าเชื้อสายพันธุ์ SU5 และชุดควบคุม โดยสามารถแยกน้ำมันได้ เท่ากับ 58.1%, 48.2% และ 16.8% ตามลำดับ ที่อุณหภูมิห้อง ใช้เวลาเลี้ยงเชื้อ 24 ชั่วโมง เกิดลักษณะตะกอนลอยปริมาณ 16.8%, 11.6% และ 3.9% ตามลำดับ และลดค่าซีโอดีได้เท่ากับ 45.3%, 34.4% และ 25.0% ตามลำดับ

 Abstract
      The decanter effluent from a palm oil mill (POME) is one of three in south of Thailand, had large amount and organic, acidic pH (pH 4.7) and contained high organic matter with COD, oil, total solids and suspended solids were 48.4, 25.6, 60.3 and 40.8 g/l, respectively. Cultivation of the 6 strains were SU5, SU6, SU9 WD7, WD79 and WD90 in the decanter effluent from a palm oil mill revealed that the highest SU5 and SU9 strains separated oil from the decanter effluent from a palm oil mill 44.4% and 49.5%, respectively. After cultivation 24 hours lift them at temperature room (30±3OC) for 9 hour on the shaker that shaked at 200 rpm, then the bulking solids were detected for 30.2% and 36.1%, respectively. Using 2 commercial enzymatic tested; cellulase and pectinase enzyme in the decanter effluent from a palm oil mill revealed that the highest cellulase separated oil from the decanter effluent from a palm oil mill 41.3% and occurred bulking solid 32.3% at minimum concentration 10 units per milliliter, 150 min. Selection of bacteria tested in many decanter efflent that cultivate at room temperature and revealed that SU9 strain separated oil from the decanter effluent from a palm oil mill more than SU5 strain and control 58.1%, 48.2% and 16.8%, respectively and occurred bulking solid 45.3%, 34.4% และ 25.0%, respectively.


Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

เสถียรพงษ์ อุดมศิลป์, ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พูนสุข ประเสริฐสรรพ์, ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลียสงขลานครินทร์

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2015-03-13

How to Cite

อุดมศิลป์ เ., & ประเสริฐสรรพ์ พ. (2015). การแยกน้ำมันและของแข็งออกจากน้ำทิ้งของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มด้วยวิธีการทางชีวภาพโดยใช้จุลินทรีย์และเอนไซม์ (SEPARATION OF OIL AND SOLIDS FROM PALM OIL MILL EFFLUENT BY BIOLOGICAL METHOD USING ENZYME AND MICROORGANISM). Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 1(2, July-December), 125–134. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/32030