การวิเคราะห์ปริมาณทอรีนในตัวอย่างน้ำนมแปรรูปโดยเทคนิคโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง DETERMINATION OF TAURINE IN PROCESSED MILK SAMPLES BY HIGH PERFORMANCE LIQIUD CHROMATOGRAPHY

Authors

  • รพีพัฒน์ บัวสุวรรณ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พรพิมล ม่วงไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

ทอรีน ออร์โท-พทาลอัลดีไฮด์ ฟลูออเรสคามีน น้ำนมแปรรูป

Abstract

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะทำการศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ปริมาณทอรีนด้วยเทคนิค
โครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง โดยเตรียมเป็นสารอนุพันธ์ของทอรีน ทั้งนี้ได้ทำการศึกษา สารที่ใช้เตรียมอนุพันธ์ของทอรีน 2 ชนิดได้แก่ ออร์โท-พทาลอัลดีไฮด์และฟลูออเรสคามีน พบว่า ออร์โท-พทาลอัลดีไฮด์
มีความเหมาะสมที่จะใช้ในการเตรียมอนุพันธ์ของทอรีนเพื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงมากกว่า ฟลูออเรสคามีน ซึ่งสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณทอรีนคือ ใช้สารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์เข้มข้น 0.02 โมลาร์ต่ออะซิโตไนไตรล์ ในอัตราส่วน 65 : 35 เป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ โดยควบคุมอัตราการไหล 0.8 มิลลิลิตร/นาที ทำการแยกสารด้วยคอลัมน์ชนิดรีเวิร์สเฟส C18 และ ตรวจวัดปริมาณสารอนุพันธ์ของทอรีนด้วยตัวตรวจวัดชนิดฟลูออเรสเซนส์วัดที่ ความยาวคลื่นของการกระตุ้นและความยาวคลื่นของการเปล่งแสงคือ 333 และ 451 นาโนเมตร ตามลำดับ กราฟมาตรฐานอยู่ในช่วงความเข้มข้น 0.1–1.0 มิลลิกรัม/ลิตร ให้สมการถดถอย y = 816.4x + 17.49 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) 0.998 ขีดจำกัดต่ำสุดในการตรวจวัดและขีดจำกัดต่ำสุดในการวิเคราะห์ปริมาณคือ 0.03 และ 0.10 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ผลการนำวิธีการข้างต้นไปทำการตรวจวัดปริมาณทอรีนในตัวอย่างน้ำนมแปรรูป 9 ชนิด พบว่า สามารถตรวจพบทอรีนได้อยู่ในช่วง < 10 ถึง 16.72 ไมโครกรัม/100 กรัม ทั้งนี้พบว่า น้ำนมแปรรูปที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนสูงกว่านั้นมีปริมาณทอรีนต่ำกว่าน้ำนมที่ผ่านกระการให้ความร้อนที่น้อยกว่า น้ำนมที่ผ่านกระบวนการแต่งกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติมีปริมาณทอรีนต่ำกว่าน้ำนมที่ไม่ผ่านกระบวนการแต่งกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติ

 

 

Abstract

            This objective of this research was to study the method to analyse taurine content by high-performance liquid chromatography by derivatization method. O-phathalaldehyde and fluorescamine  were  used to react with taurine for detected by fluorescence detector. The result presented that O-phathalaldehyde was the appropriate substance for derivertise with taurine than fluorescamine.  The mobile phase system was 0.02 M phosphate buffer pH 5.4: acetonitrile  as 65 : 35 and controlled flow rate at 0.8 ml / minutes. The taurine was separated in reversed-phase  fortis C-18 5 µm analytical column  and  detected by fluorescence detector  that measure  the excitation wavelength and emission wavelength at  333 and 451 nm respectively. The linearity range of standard taurine calibration curve was in the range of 0.1 to 1.0 mg/L. The regression equation of standard curve was y = 816.4x + 17.49 and the correlation coefficient (R2) was 0.998; limit of detection and limit of quantitation was 0.30 and 0.10 mg/L respectively. Then the method was applied to analyse taurine in 9 types of processed milk. The results showed that  all milk samples contained taurine between < 0.10 to 0.16 mg/kg. Taurine in prolong heated processed milk showed the lower amount of taurine content than  processed milk through short low heat. Processed flavor milk contained lower the amount of taurine than natural flavor processed milk.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

รพีพัฒน์ บัวสุวรรณ, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พรพิมล ม่วงไทย, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-04-07

How to Cite

บัวสุวรรณ ร., & ม่วงไทย พ. (2016). การวิเคราะห์ปริมาณทอรีนในตัวอย่างน้ำนมแปรรูปโดยเทคนิคโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง DETERMINATION OF TAURINE IN PROCESSED MILK SAMPLES BY HIGH PERFORMANCE LIQIUD CHROMATOGRAPHY. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 7(13, January-June), 65–75. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/54439