ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของไลเคนกับชนิดไม้ บริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก THE RELATIONS OF LICHEN DIVERSITY AND TREE SPECIES IN NATURAL TOURISM SITES, KHUNDAN PRAKARNCHON RESERVOIR, NAKHONNAYOK PROVINCE
Keywords:
ไลเคน ชนิดไม้ ป่าดิบแล้งริมห้วย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เขื่อนขุนด่านปราการชลAbstract
บทคัดย่อ
รูปแบบความสัมพันธ์ของไลเคนกับชนิดไม้ที่อาศัย ขึ้นอยู่กับสังคมป่าไม้และปัจจัยจากสภาพระบบนิเวศป่าไม้และผลกระทบจากมนุษย์ ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของไลเคนและชนิดไม้ในสภาพป่าไม้ที่มีการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่สามารถบ่งบอกผลกระทบของกิจกรรมที่มนุษย์รบกวนธรรมชาติ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความหลากหลายของไลเคนและชนิดไม้อาศัยในป่าที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว บริเวณรอบเขื่อนขุนด่านปราการชล 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของชนิดไลเคนและชนิดไม้อาศัยในป่าที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และ 3) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์การทรัพยากรป่าไม้โดยใช้ความสัมพันธ์ของชนิดไลเคนที่ปรากฏเพื่อการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของชนิดไลเคนกับชนิดไม้ ณ บริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเขื่อนขุนด่านปราการชล พบว่ามะเดื่อ (Ficusracemosa Linn.) เป็นชนิดไม้ที่มีไลเคนอาศัยอยู่หลากหลายชนิดมากที่สุดพบ 6 ชนิดจากไลเคนทั้งหมด 12 ชนิด พบไลเคนชนิด Pertusaria sp. มากที่สุด ในขณะที่ไลเคนชนิด Pyrenula sp. มีการกระจายตัวและเจริญบนลำต้นของชนิดไม้หลากหลายชนิดมากที่สุด นอกจากนี้ต้นไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้หนุ่มที่มีเปลือกเรียบ ชนิดไม้เหล่านี้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้งริมห้วย โครงสร้างป่าแบบ 3 ชั้นเรือนยอด จากการศึกษาความสัมพันธ์ชนิดไม้ที่มีเปลือกเรียบกับความหลากหลายชนิดของไลเคน พบว่าการเจริญของไลเคน Arthonia sp. มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับชนิดไม้เปลือกเรียบ โดยสามารถใช้เป็นแนวทางการอนุรักษ์การทรัพยากรป่าไม้โดยใช้ความสัมพันธ์ของชนิดไลเคนที่ปรากฏเพื่อการจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
Abstract
A pattern of Lichen and its host tree species relations depends on plant community of each forest ecosystem and human impact factors. To understand the relations between Lichen and host tree species, this paper aims to: 1) survey the diversity of Lichen and their host tree species which were found at nature-based tourism sites of Khundan Prakarnchon reservoir; 2) analyze the relations of Lichen and their host tree species which occurred at nature-based tourism sites of Khundan Prakarnchon reservoir; and 3) give a guideline and suggestion of forest resources conservation, which based on the analysis results of Lichen and their host tree species relations for management of nature-based tourism sites. The results showed that Ficus racemosa L. provides habitat for several Lichen species, 6 found species out of 12 species. The lichen Pertusaria sp. is found as majority lichen in this area, while lichen Pyrenula sp. was found in diversity tree species. The host tree species of lichen were mostly smooth bark, and were sapling. They grow widely in the gallery forest in which normally composed of three layers structured forest. Therefore, relationship between smooth bark-trees and lichen diversity was significantly. The results showed diversity and amount of lichen related to amount of smoothly bark-trees. This research illustrated a relation of diversity of lichen and tree species in forest ecosystem. The results can be a useful guideline for lichen diversity and forest conservation.Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.