ผลของผงขี้เลื่อยและน้ำยางพาราต่อสมบัติของคอมพอสิตโฟมแป้งมันสำปะหลัง EFFECT OF WOOD SAWDUST AND RUBBER LATEX ON PROPERTIES OF TAPIOCA STARCH COMPOSITE FOAM

Authors

  • มณิศรา พิริยวิรุตม์ ภาควิชาวิศวกรรมเครืองมือและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • บำรุง เลิศลอยกุลชัย ภาควิชาวิศวกรรมเครืองมือและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Keywords:

คอมพอสิตโฟมแป้ง แป้งมันสำปะหลัง ผงขี้เลื่อยยางพารา น้ำยางธรรมชาติ

Abstract

บทคัดย่อ

          คอมพอสิตโฟมแป้งเตรียมได้จากแป้งมันสำปะหลัง ผงขี้เลื่อยยางพาราและน้ำยางธรรมชาติ ผสมกันด้วยเครื่องช่วยผสมแล้วขึ้นรูปโดยการอัดร้อนด้วยแม่พิมพ์ โดยการปรับเปลี่ยนปริมาณผงขี้เลื่อยยางพารา 0-25% และน้ำยางธรรมชาติ 0-30% โดยน้ำหนักของแป้งมันสำปะหลัง แล้วศึกษาสมบัติต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างสัณฐานวิทยา ความหนาแน่น สมบัติการรับแรงดัด การดูดซับน้ำ และการย่อยสลายทางชีวภาพของคอมพอสิตโฟมแป้ง
โดยพบว่า ความหนาแน่นของคอมพอสิตโฟมแป้งเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มผงขี้เลื่อยไม้ยางพาราและน้ำยางพารา การเพิ่มปริมาณผงขี้เลื่อยไม้ยางพาราสามารถเพิ่มสมบัติการรับแรงดัดของคอมพอสิตโฟมแป้งแต่การเพิ่มปริมาณน้ำยางพารากลับทำให้สมบัติการรับแรงดัดของคอมพอสิตโฟมแป้งลดลง ส่วนการดูดซับน้ำของคอมพอสิตโฟมแป้ง
ที่มีผงขี้เลื่อยยางพาราและน้ำยางธรรมชาติจะมีค่าต่ำกว่าโฟมแป้ง ดังนั้นผงขี้เลื่อยยางพาราและน้ำยางธรรมชาติสามารถปรับปรุงให้คอมพอสิตโฟมแป้งทนน้ำมากขึ้น การย่อยสลายของคอมพอสิตโฟมแป้งด้วยแอลฟาอะไมเลส พบว่าการเพิ่มผงขี้เลื่อยไม้ยางพาราและน้ำยางพาราทำให้การย่อยสลายของคอมพอสิตโฟมแป้งลดลง

 

 

 

Abstract

          Starch-based composite foams were prepared from tapioca starch, rubber wood sawdust, and natural rubber latex, by using a mixer, by varying content of rubber wood sawdust and natural rubber latex of 0-25% and 0-30%, respectively. Then the batter was formed by thermal compression molding. Morphology, density, flexural properties, water absorption, and biodegradability of starch-based composite foams were investigated. Overall foam density increased with increasing rubber wood sawdust and natural rubber latex content. Incorporation of the rubber wood sawdust led to the increasing in flexural properties of starch-based foams, while rubber latex results in diverse effect. Water absorption of starch foams decreased by increasing rubber wood sawdust and natural rubber latex content. Starch foams were degraded by a-amylase and increasing rubber wood sawdust and natural rubber latex content decreased degradation on starch foams.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

มณิศรา พิริยวิรุตม์, ภาควิชาวิศวกรรมเครืองมือและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บำรุง เลิศลอยกุลชัย, ภาควิชาวิศวกรรมเครืองมือและวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-04-29

How to Cite

พิริยวิรุตม์ ม., & เลิศลอยกุลชัย บ. (2016). ผลของผงขี้เลื่อยและน้ำยางพาราต่อสมบัติของคอมพอสิตโฟมแป้งมันสำปะหลัง EFFECT OF WOOD SAWDUST AND RUBBER LATEX ON PROPERTIES OF TAPIOCA STARCH COMPOSITE FOAM. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 8(15, January-June), 40–53. retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/55872