การสกัดสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดจากเปลือกกล้วยหอมทองโดยใช้เทคนิคการสกัดด้วยตัวทำละลายที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติ TOTAL PHENOLIC COMPOUNDS EXTRACTION FROM KLUAI HOM THONG PEELS USING SUBCRITICAL SOLVENT EXTRACTION TECHNIQUE

Authors

  • รัตนา ม่วงรัตน์ สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พงศธร ถ้ำทอง สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จรัสศรี หลวงพันธ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การสกัดด้วยตัวทำละลายที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติ สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด กรดแกลลิค สารอนุมูลอิสระดีพีพีเอช

Abstract

บทคัดย่อ

 

        งานวิจัยนี้ศึกษาการสกัดสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดจากเปลือกกล้วยหอมทองแห้งด้วยเทคนิคการสกัดด้วยตัวทำละลายที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติ และปัจจัยที่มีผลต่อการสกัดสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ได้แก่ ชนิดของตัวทำละลาย (เอทานอล น้ำ และตัวทำละลายผสมน้ำและเอทานอลในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:1) อัตราส่วนโดยน้ำหนักของเปลือกกล้วยหอมทองต่อตัวทำละลาย (1:7.5, 1:15, 1:25 และ 1:30) อุณหภูมิ (60, 80, 100 และ 120 องศาเซลเซียส) และเวลา (5, 15, 30 และ 60 นาที) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดที่สกัดได้จากเปลือกกล้วยหอมทองแห้ง ตัวทำละลายผสมน้ำและเอทานอลในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1: 1 เป็นตัวทำละลายที่เหมาะสมที่สามารถสกัดสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดได้ในปริมาณที่มาก  เมื่อปริมาณตัวทำละลายผสมที่ใช้ในการสกัดมากขึ้นสามารถสกัดสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดได้เพิ่มขึ้น อุณหภูมิและเวลาในการสกัดเพิ่มขึ้นปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดที่ได้มีค่าสูงขึ้น อย่างไรก็ตามปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดจะลดลงเมื่ออุณหภูมิและเวลาในการสกัดมากกว่า 100 องศาเซลเซียสและนานกว่า 15 นาที ตามลำดับ สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดได้ในปริมาณมากที่สุดจากเปลือกกล้วยหอมทองแห้งด้วยเทคนิคการสกัดโดยใช้ตัวทำละลายที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติ คือ ที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักของเปลือกกล้วยหอมทองแห้งต่อตัวทำละลายผสม
(น้ำและเอทานอลในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเท่ากับ 1:1) เท่ากับ 1:25 อุณหภูมิและเวลาในการสกัดเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส และ 15 นาที ตามลำดับ สามารถสกัดสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 59.23 มิลลิกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิคต่อกรัมของเปลือกกล้วยหอมทองแห้ง ความเข้มข้นของสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดที่สกัดได้จากสภาวะที่เหมาะสมที่สามารถยับยั้งสารอนุมูลอิสระดีพีพีเอชที่ร้อยละ 50 มีค่าประมาณ 1.40 มิลลิกรัมต่อ 1 มิลลิลิตร

 

 

 

Abstract

         Total phenolic compounds extraction from dried Kluai Hom thong peels using subcritical solvent extraction method was studied. The factors affecting the total phenolic compounds extraction were investigated such as type of solvents (ethanol, water and water-ethanol with the mixing weight ratio of 1:1), dried Kluai Hom thong peels and solvent weight ratios (1:7.5, 1:15, 1:25 and 1:30), extraction temperatures (60, 80, 100 and 120 oC) and extraction time (5, 15, 30 and 60 min). The results showed that these factors had affected amount of the total phenolic compounds. The mixture solvent (water-ethanol ratio 1: 1) was a suitable solvent for extraction to obtain the highest amount of total phenolic compounds from dried Kluai Hom thong peels. When an amount of solvent increased, the amount of total phenolic compounds increased. In addition, the extraction temperature and the extraction time increased, the total phenolic compounds increased. However, the amount of the total phenolic compounds decreased with increasing temperature above 100 oC and longer extraction time than 15 min. The highest average amount of the total phenolic compounds was 59.23 milligrams of gallic acid equivalent per gram dried Kluai Hom thong peel which obtained from the optimal condition (the ratio of dried Kluai Hom thong peels to water-ethanol solvent 1:25, the extraction temperature 100 oC and time 15 min). The concentration of the total phenolic extract obtained from the optimal extraction necessary to inhibit 50% of DPPH· was 1.40 mg/ml.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

รัตนา ม่วงรัตน์, สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พงศธร ถ้ำทอง, สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จรัสศรี หลวงพันธ์, สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-05-02

How to Cite

ม่วงรัตน์ ร., ถ้ำทอง พ., & หลวงพันธ์ จ. (2016). การสกัดสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดจากเปลือกกล้วยหอมทองโดยใช้เทคนิคการสกัดด้วยตัวทำละลายที่สภาวะต่ำกว่าจุดวิกฤติ TOTAL PHENOLIC COMPOUNDS EXTRACTION FROM KLUAI HOM THONG PEELS USING SUBCRITICAL SOLVENT EXTRACTION TECHNIQUE. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 8(15, January-June), 54–65. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/56096