การประเมินการปนเปื้อนแบคทีเรียบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลแหลมผักเบี้ย ตำบล แหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ASSESSMENT OF BACTERIAL CONTAMINATION IN COASTAL AREA OF LAEM PHAK BIA, LAEM PHAK BIA SUB DISTRICT, BAN LAEM DISTRICT, PHETCHABURI PROVINCE.

Authors

  • เสถียรพงษ์ ขาวหิต ภาควิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
  • เกษม จันทร์แก้ว ภาควิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Keywords:

การปนเปื้อนแบคทีเรีย ชายฝั่งทะเลแหลมผักเบี้ย

Abstract

บทคัดย่อ

        การศึกษาการประเมินการปนเปื้อนแบคทีเรียบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลแหลมผักเบี้ย ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. โดยทำการเก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำช่วงที่ทะเลขึ้นสูงสุดแบ่งออกเป็น 5 ระยะคือ A: ระยะห่างจากชายฝั่งทะเล 1,000 เมตร (A1-A5); B: ระยะห่างจากชายฝั่งทะเล 2,000 เมตร (B1-B5); C: ระยะห่างจากชายฝั่งทะเล 3,000 เมตร (C1-C5) ; D: ระยะห่างจากชายฝั่งทะเล 5,000 เมตร (D1-D5) ; E: ระยะ ห่างจากชายฝั่งทะเล 5,000 เมตร (E1-E5)  ในเดือนกันยายน 2555 (ฤดูฝน) และเดือนมีนาคม 2556 (ฤดูร้อน) เพื่อทำการเปรียบเทียบกับค่าตรวจวัดและค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำชายฝั่งทะเลและพื้นที่ชายฝั่งทะเลตามธรรมชาติ ผลจากการวิเคราะห์พบว่าค่า Clostridium sp., Salmonella aurousSalmonella sp., Vibrio sp. Escherichia coli, Fecal Coliform และ Total Coliform มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.00, 0.00, 0.00, 0.00, 1.22 CFU/ml, 1.80 MPN/100 ml และ 8.15 MPN/100 ml ตามลำดับ จากการศึกษาทำให้ทราบว่าคุณภาพน้ำทางด้านชีวภาพโดย เฉพาะแบคทีเรียบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลแหลมผักเบี้ยที่รองรับน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนเทศบาลเมืองเพชรบุรีมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและใกล้เคียงกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลตามธรรมชาติ ไม่ส่งผลอันตรายต่อสัตว์น้ำหรือสิ่งมีชีวิต, สุขภาพและอนามัยของประชาชนที่อาศัยบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ศึกษา

 

 

 

Abstract

        The research entitled “ assessment of bacterial contamination  in the coastal area of laem phak bia,  Laem Phak Bia Sub District, Ban Laem District, Phetchaburi Province” has been focused on examinating and monitoring of water quality of biological characteristics in the coastal area of Laem Phak Bia. After the treated municipal wastewater has been released into the coastal area, the water quality has been shown in five different zones, as follows: Zone A: 1,000 meters from the coast, Zone B: 2,000 meters from the coast, Zone C: 3,000 meters from the coast, Zone D: 4,000 meters from the coast, Zone E: 5,000 meters from the coast  water quality of  biological characteristics has been sampled and analyzed during August 2012 (rainy season)  and March 2013 (summer).  Seven parameters have been identified as follows: Clostridium sp., Salmonella aurous, Salmonella sp., Vibrio sp., Escherichia coli, Fecal Coliform and Total Coliform. The study expresses that the averages of the coastal area of Laem Phak Bia were 00.00, 0.00, 0.00, 0.00, 1.22 CFU/ml, 1.80 MPN/100 ml and 8.15 MPN/100 ml respectively. By comparing with the standard water quality from the Ministry of Natural Resources and Environment (2004), the results of the study have been consistent with the original standards and the treated water from the wastewater treatment system within these coastal areas are all safe to health for people, animal or organisms

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

เสถียรพงษ์ ขาวหิต, ภาควิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เกษม จันทร์แก้ว, ภาควิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ฝ่ายสำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2016-05-02

How to Cite

ขาวหิต เ., & จันทร์แก้ว เ. (2016). การประเมินการปนเปื้อนแบคทีเรียบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลแหลมผักเบี้ย ตำบล แหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ASSESSMENT OF BACTERIAL CONTAMINATION IN COASTAL AREA OF LAEM PHAK BIA, LAEM PHAK BIA SUB DISTRICT, BAN LAEM DISTRICT, PHETCHABURI PROVINCE. Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology, 8(15, January-June), 78–87. Retrieved from https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/56098