การรักษาโรคอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับโดยการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า MAXILLOMANDIBULAR ADVANCEMENT SURGERY: A REVIEW TREATMENT OF SEVERE OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA
Keywords:
Maxillomandibular advancement, severe obstructive sleep apnea, radiofrequency ablation of the tongue base and soft palate uvulopalatopharyngoplasty.Abstract
บทคัดย่อ
โรคอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับเป็นโรคที่พบได้บ่อย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายด้าน มีความผิดปกติ ในการหายใจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต พบในประชากรผู้ใหญ่หลายล้านคน การอุดกั้นทางเดินหายใจเกิดขึ้นซ้ำๆ มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดในสมอง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น การรักษามีหลายวิธี ได้แก่ การรักษาแบบอนุรักษ์ โดยการลดน้ำหนัก การปรับท่านอน การรักษาโดยการใช้เครื่องอัดอากาศอย่างต่อเนื่อง (Continous positive airway pressure; CPAP) การรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อขยายทางเดินหายใจทำได้หลายวิธี การผ่าตัดขึ้นกับตำแหน่งของการอุดกั้น เช่น การผ่าตัดแก้ไขจมูก การจี้ด้วยคลื่นวิทยุบริเวณเพดานอ่อนและโคนลิ้น (Radiofrequency ablation of soft palate and base of tongue) การผ่าตัดแก้ไขเพดานอ่อน (Uvulopalatopharyngoplasty) การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรล่างเพื่อเลื่อนกล้ามเนื้อลิ้นมาด้านหน้า (Mandibular osteotomy with genioglossus advancement) และการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า (Maxillomandibular advancement; MMA) ซึ่งการผ่าตัด MMA มีผลการรักษาดีกว่าวิธีอื่น เลือกทำในรายที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับระดับรุนแรง มีความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้า หรือในรายที่ประสบความล้มเหลวจากการใช้ CPAP หรือการผ่าตัดด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล การผ่าตัด MMA เป็นการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับในการผ่าตัดครั้งเดียว อย่างถาวรได้ การผ่าตัดอาจทำให้โครงหน้าของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงจากการตัดกระดูกขากรรไกรแล้วเลื่อนตำแหน่งมาทางด้านหน้า ยึดกระดูกด้วยแผ่นไทเทเนียมและสกรูให้อยู่นิ่งในตำแหน่งที่ต้องการ การผ่าตัด UPPP ให้ผลการรักษาหายน้อยกว่าร้อยละ 50% ในขณะที่การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า เป็นวิธีที่ประสบผลสำเร็จในการรักษาร้อยละ 75-100 นับว่าเป็นวิธีการผ่าตัดรักษาทีให้ผลเป็นที่น่าพอใจในการรักษาโรคอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ
คำสำคัญ: การผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกรมาด้านหน้า ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจระดับรุนแรง การจี้โคนลิ้นและ
เพดานอ่อนด้วยคลื่นวิทยุ การผ่าตัดแก้ไขลิ้นไก่และเพดานอ่อน
Abstract
Obstructive sleep apnea (OSA) syndrome is a breathing disorder which is affecting a quality of life. OSA has affected millions of people around the world. The airway obstruction was repetitive occurred which increases risk of ischemic heart disease, stroke, hypertension, etc. There are various procedures for treatment of OSA in general started with conservative treatment such as decrease weight, positioning change, using continuous positive airway pressure machine (CPAP). Various surgical technics have been proposed to treating airway obstructions depend on area of obstruction such as nasal reconstruction, Radiofrequency ablation of the tongue base and soft palate, uvulopalatopharyngoplasty (UPPP), mandibular osteotomy with genioglossus advancement and maxillomandibular advancement (MMA). MMA is recommended in severe cases, multiple structures abnormality, narrowing or shortening of maxillary and mandible bone, failure from other CPAP or surgical procedures. This procedure is effective for treating OSA to improve permanent airway obstruction in single operation; however it might change the facial appearance of the patient. The maxillary bone and mandibular bone are bilateral osteotomy with little saws and chisels and moved in anteroinferior direction and fixed with titanium plates and screws to hold jaws in position. A success rate of UPPP surgery for OSA is lesser than 50%, whereas success rates of MMA operation is around 75-100%. MMA is an effective procedure for OSA.
Keywords: Maxillomandibular advancement, severe obstructive sleep apnea, radiofrequency ablation of the tongue base and soft palate uvulopalatopharyngoplasty.
Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Srinakharinwirot University Journal of Sciences and Technology is licensed Under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 4.0 International (CC-BY-NC-ND 4.0) License, Unless Otherwise Stated. Please Read Journal Policies Page for More Information on Open Access, Copyright and Permissions.