การศึกษาผลกระทบทางรังสีในตัวอย่างทรายชายหาดผิวหน้าบริเวณจังหวัดสงขลา ประเทศไทย ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิ ในประเทศญี่ปุ่น

Main Article Content

Prasong Kessaratikoon
Nikom Choosiri
Ruthairat Boonkrongcheep
Murnee Daoh
Suchin Udomsomporn

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการตรวจวัดและวิเคราะห์ค่ากัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้นคือ 137Cs ในตัวอย่างทรายชายหาดผิวหน้าจำนวน 270 ตัวอย่างที่เก็บจากชายหาด 7 แห่งจากบริเวณ 5 อำเภอของจังหวัดสงขลาทางภาคใต้ของประเทศไทยภายหลังการเกิดอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิชิในประเทศญี่ปุ่นโดยใช้หัววัดแบบเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์และระบบการวิเคราะห์แบบแกมมาสเปกโตรเมตรีพบว่าค่ากัมมันตภาพจำเพาะของนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้นมีค่าพิสัยเป็น 0.00–9.91 Bq/kg และมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ที่ตรวจวัดได้อยู่ที่บริเวณชายหาดสร้อยสวรรค์ อำเภอเทพา มีค่าเท่ากับ 4.19± 1.15 Bq/kg และยังได้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของค่ากัมมันตภาพจำเพาะของทุกชายหาดที่ได้นี้กับข้อมูลในรายงานประจำปีของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติและข้อมูลของกลุ่มนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศทั่วโลกพบว่าค่าเฉลี่ยของกัมมันตภาพจำเพาะมีค่าสอดคล้องกันคือมีค่าใกล้เคียงกับข้อมูลที่นำมาเปรียบเทียบ ดังนั้น สามารถกล่าวได้ว่า บริเวณดังกล่าวนี้ไม่มีผลกระทบทางรังสีภายหลังจากการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังได้จัดทำแผนภาพทางรังสีของบริเวณดังกล่าวนี้อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย