การพัฒนาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตพรุน โดยใช้จุลินทรีย์ประสิทธิภาพเป็นส่วนผสม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากำลังต้านทานแรงอัดของคอนกรีตพรุนโดยใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพ (EM) เป็นสัดส่วนผสมในการแทนที่น้ำในสัดส่วนร้อยละ 0 5 10 และ 15 ตามลำดับ ที่อายุการบ่ม 7 28 และ 56 วัน จากการวิจัยพบว่า การใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพ ในการแทนที่น้ำที่สัดส่วนร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก ที่อายุการบ่ม 7 28 และ 56 วัน มีค่ากำลังต้านทานแรงอัดเท่ากับ 66.30 67.75 และ 150.87 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนผสมดังกล่าวเป็นสัดส่วนที่คอนกรีนพรุนมีการพัฒนากำลังต้านทานแรงอัดได้ดี ตามอายุการบ่มที่กำหนดไว้ ซึ่งการพัฒนากำลังต้านทานแรงอัดของคอนกรีตพรุนเกิดจากการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดปฏิกิริยาปอซโซลานิกได้ดีขึ้น เนื่องจากองค์ประกอบที่เป็นส่วนเกิน Ca(OH)2 จากปฏิกิริยาไฮเดรชั่นจะรวมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพ ซึ่งมี SiO2 และ Al2O3 เป็นองค์ประกอบหลักทำให้เกิดแคลเซียมซิลิเกตไฮเดต (CSH) และแคลเซียมอลูมิเนตไฮเดต (CAH) ซึ่งทำหน้าที่เป็นวัสดุเชื่อมประสานระหว่างมวลรวมทำให้คอนกรีตพรุนมีความสามารถในการรับกำลังต้านทานแรงอัดได้ดีขึ้น เนื่องจากหัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพ มีคุณสมบัติในการกำจัดสารอนินทรีย์ที่ปะปนมากับส่วนผสมของคอนกรีตพรุน ซึ่งทำให้คอนกรีตพรุนสามารถรับกำลังต้านทานแรงอัดได้ดีขึ้น ในทางกลับกัน หากนำหัวเชื้อจุลินทรีย์ประสิทธิภาพ แทนที่น้ำในอัตราส่วนที่มากเกินขอบเขตความเข้มข้นของสิ่งเจือปนที่ยอมให้ตามมาตรฐาน ASTM C 94 จะส่งผลทำให้กำลังต้านทานแรงอัดของคอนกรีตพรุนลดลง
Article Details
References
Concrete Containing Palm oil Fuel Ash and Rice Husk-bark Ash”, Construction and Building
Materials. 21, 1492-1499
[2] Park, J.-Y. and Kim, S.-H., (2010). “A New Species of Torrent Catfish from Korea”, Korean Journal of
Limnology. 21, 345-352.
[3] Wang, S., J. et., al. (2003). “Dielectric Properties of Fruits and Insect Pests as Related to Radio Frequency
and Microwave Treatments”, Biosystems Engineering. 85, 201-212.
[4] K.A. and G.I. Matsumoto (2004). “Stellamedusa Ventana, a New Mesopelagic Scyphomedusa from the
Eastern Paci¢c Representing a New Subfamily, the Stellamedusinae”, Journal of the Marine Biological.
84, 37-42.
[5] Rattanasak U. and Chindaprasirt P. (2009). “Influence of NaOH Solution on the Synthesis of Fly Ash
Geopolymer”, Minerals Engineering. 22, 1073-1078.
[6] Kevern, J. T. et., al. (2008). “Pervious Concrete Mixture Proportions for Improved Freeze-Thaw Durability”,
Journal of ASTM International. 2, 1-12.