การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องกรีดยางพาราอัตโนมัติกับการกรีดแบบใช้มีดเจ๊ะบง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องกรีดยางพาราอัตโนมัติและการใช้มีดกรีดยางแบบเจ๊ะบงโดยทดลองกับยาง RRIM 600 อายุประมาณ 7 ปี ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากการทดลองกรีดยางด้วยมีดกรีดยางแบบ เจ๊ะบงระบบการกรีด s/3 d1 3d/4 พบว่า ค่าเฉลี่ยของความลึกของรอยกรีด 5.6 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ยของรอยกรีด 17 เซนติเมตร และค่าเฉลี่ยการสิ้นเปลืองหน้ากรีด 1.9 มิลลิเมตร ต่อการกรีด 1 ครั้ง การสิ้นเปลืองหน้ากรีดเฉลี่ยปีละ 26.5 เซนติเมตร อัตราเร็วการกรีดเท่ากับ 0.8 เซนติเมตร/วินาที เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องกรีดยางพาราอัตโนมัติกับมีดกรีดยางแบบเจ๊ะบง พบว่า เครื่องกรีดยางพาราอัตโนมัติมีความสิ้นเปลืองเปลือกยาง 2.8 มิลลิเมตร/ครั้ง ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้มีดกรีดยางเจ๊ะบง อัตราเร็วในการกรีดของเครื่องกรีดยาง 0.24 เซนติเมตร/วินาที ซึ่งช้ากว่าอัตราการกรีดด้วยมีดกรีดยางเจ๊ะบง รวมทั้งความลึกของรอยกรีดประมาณ 3.0 มิลลิเมตร และความยาวของรอยกรีด คือ 9.0 เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าการกรีดด้วยมีดเจ๊ะบง จากผลการทดลองประสิทธิภาพการกรีดด้วยเครื่องอัตโนมัติที่ได้ ต้องมีการปรับปรุงเครื่องกรีดยางพาราอัตโนมัติซึ่งมีน้ำหนักมากเกินไป ทำให้มอเตอร์ที่ขับเคลื่อนขึ้น-ลงต้องใช้แรงมากและขับเคลื่อนใบมีดได้ช้า ควรหาวัสดุที่เบาและแข็งแรงพอ อีกทั้งองศาการกรีดที่ไม่สม่ำเสมอเนื่องจากรางพาและความโค้งงอของลำต้นยางไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อความลึกและความสม่ำเสมอของรอยกรีดจึงควรมีตัวนำใบมีดที่สามารถปรับระยะหรือปรับองศากรีดได้ตามความโค้งของลำต้นยาง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Rubber Research Institute. (2017). Statistic for Thai Rubbers. Retrieved 9 February 2018, from https://www.rubberthai. com/statistic/stat_index.htm. (In Thai)
Rubber Research Institute. (2012). Annual Academic Rubber Information on 2012. Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok, Thailand. Retrieved 9 February 2018, from https://ag-ebook.lib.ku.ac.th/index.php/component/content/article/523.
Sopchok, P., Jantuma, P., & Paechana, P. (2007). Para Rubber Tapping and Use of Chemical to Increase Latex. Rubber Research Institute, Department of Agriculture, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (In Thai)
Chantuma, P. (2001). Physiology of Rubber Trees and Tapping Systems. Annual Rubber Conference in 2001, Chiangmai, Thailand, 20-22 February 2001, 78-89. Retrieved 10 March 2018, from https://it.doa.go.th/kasikorn/year-53/jan_feb_53/part-2.pdf. (In Thai)
Seangdang, Y. (2012). Design and Prototyping of the Pararubber Tapping Machine by Using Electrical Motor. Master Degree Thesis, Suranaree University of Technology. (In Thai)
Mueangdee, N., Mahathaninwong, N., Kongtim, P., Anancharoenwong, E., & Marthosa, S. (2017). Automatic Para Tapping Machine. Research Report. Prince of Songkla University. (In Thai)
Mahathaninwong, N., Chucheep, T., Muangdee, N., Petnikom, P., Suwanmanee, A., & Chuaymeung, A. (2016). Rubber Tapping Blades for Automatic Rubber Tapping Machine. Thaksin University Journal, 19(2), 23-31. (In Thai)