ระดับกัมมันตภาพรังสีธรรมชาติในดินตะกอนบริเวณอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ตรวจวดั ระดบั กมั มนั ตภาพรังสีที่สะสมในดินตะกอนบริเวณอ่าวปัตตานีและเปรียบเทียบค่าที่ได้กับค่าเฉลี่ยมาตรฐานดินตามรายงานของ UNSCEAR (2008) โดย เก็บตัวอย่างดินตะกอนบริเวณอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำนวน 7 สถานี ใน 2 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน วิเคราะห์กัมมันตภาพรังสีด้วยเครื่องแกมมาสเปกโตรมิเตอร์ โดยเลือกใช้หัววัดรังสีชนิดเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูงปรับเทียบโดยใช้แหล่งกำเนิดรังสีแกมมามาตรฐานดิน (IAEA Soil 6) ผลการวิเคราะห์พบนิวไคลด์กัมมันตรังสีธรรมชาติ ได้แก่ โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-238 และทอเรียม-232 ในฤดูร้อนมีค่ากัมมันตภาพ จำเพาะเฉลี่ยเท่ากับ 803.29 ± 107.16, 59.93 ± 16.13 และ 79.47 ± 12.44 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และฤดูฝน 648.78± 212.46, 44.42 ± 20.42 และ 66.20 ± 30.16 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามรายงานของ UNSCEAR (2008) คือ 412, 35 และ 45 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การคาํ นวณค่าบ่งชี้ความเป็นอนั ตรายของนิวไคลด์กมั มนั ตรังสีในธรรมชาติ พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Hajisamae, S. (2011). Pattani bay facts and challenges. Sri Trang News Journal, 34(7), 4–6.
Phaophang, C. (2013). Radioactivity levels in marine sediment collected in Chonburi province. Doctoral Dissertation. Bangkok: Kasetsart University.
Wongsanit, S. (2010). Gross alpha and beta activities in sea water, sediment and plankton in the coastal ecosystem: the upper gulf of Thailand. Master’s Thesis. Bangkok: Kasetsart University.
Doloh, S. (2013). Thermoluminescence dating technique of freshwater shells and flint in Khao-Harn cave historical site Satun province. Master’s Thesis. Prince of Songkla University, Pattani Campus.
Bhongsuwan, T., & Hemtrakoonwong, H. (2017). Radionuclide content in beach sand in Ta Kua Pa district, Phang Nga province. Naresuan University Journal, 25(1), 123–137.
Limsuwan, S., Vichaidid, T., & Limsuwan, P. (2011). ESR dating of laterite from Ban Tha Ta Suea, Kanchanaburi, Thailand. Applied Radiation and Isotopes, 69(2), 545–549.
Veiga, R., Sanches, N., Anjos, R.M., Macario, K., Bastos, J., Iguatemy, M.,… Umisedo, N.K. (2006). Measurement natural radioactivity in Brazilian beach sands. Radiation Measurements, 41(2), 189–196.
United Nation Scientific Committee on the Effect of Atomic Radiation (UNSCEAR).(2008). Sources and Effects of Ionizing Radiation. Report to General Assembly, with Scientific Annexes. New York: Author.
United Nation Scientific Committee on the Effect of Atomic Radiation (UNSCEAR).(2000). Sources and Effects of Ionizing Radiation. Report to General Assembly, with Scientific Annexes. New York: Author.