การประเมินศักยภาพของพลังงานลมด้วยระเบียบวิธีแผนที่ลมมหภาค: กรณีศึกษาพื้นที่ตอนกลางของประเทศไทย กรณีศึกษาพื้นที่ตอนกลางของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้นำเสนอการประเมินศักยภาพพลังงานลมในบริเวณพื้นที่ตอนกลางของประเทศไทย เพื่อตอบสนองนโยบายแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ผลการประเมินศักยภาพพลังงานลมจะแสดงอยู่ในรูปของแผนที่อัตราเร็วลม ซึ่งอาศัยระเบียบวิธีแผนที่ลมมหภาคที่ไดัรับการพัฒนาโดย DTU Wind Energy ร่วมกับ Vortex ซึ่งสนับสนุนโดยธนาคารแห่งชาติ (World Bank Group) ในการวิเคราะห์และประมาณค่าอัตราเร็วลม พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของผลการประเมินโดยอาศัย แผนที่อัตราเร็วลมที่ระดับความสูง 100 m เหนือพื้นดิน ที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำจากขัอมูลลมตรวจวัดจากเสาวัดลมที่จำนวน 6 ตัน ภายในพื้นที่ศึกษา ระเบียบวิธีแผนที่ลมอาศัยฐานข้อมูลภูมิอากาศลม ERA5 ย้อนหลัง 10 ปี (ค.ศ. 2008-2017) จาก European Center for Medium-Range Weather Forecasts (ECMWF) ที่ความแยกชัด 30 km เป็นข้อมูลนำเข้าให้กับแบบจำลองบรรยากาศระดับปานกลาง WRF เพื่อทำการย่อส่วนให้มีความแยกชัดของกริดเท่ากับ 3 km ผลลัพธ์จากแบบจำลอง ดังกล่าวจะเป็นข้อมูลนำเข้าให้กับแบบจำลองการไหลของลมระดับจุลภาค WAsP ร่วมกับฐานข้อมูลภูมิประเทศความแยกชัดสูงระดับ 30 m ผลการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำพบว่า แผนที่อัตราเร็วลมจากระเบียบวิธีแผนที่ลมมหภาคมีความผิดพลาดเฉลี่ยร้อยละ 16.31 เมื่ออาศัย แผนที่ดังกล่าวในการประเมินศักยภาพของพลังงานลมในพื้นที่ศึกษาพบวา่ บริเวณที่มีศักยภาพของพลังงานลมสูงกว่า 6.0 m/s อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของพื้นที่ศึกษา ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการติดตั้งเสาวัดลมและประเมินศักยภาพในระดับ Micro-siting สำหรับการพัฒ นาโรงไฟฟ้าพลังงานลมได้ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Ministry of Energy.(2019). Calendar Year of Renewable Energy: July 2019 (Online). Retrieved 13 November 2019, from https://www.dede.go.th.
Energy Regulatory Commission. (2019). The database system of SPP/VSPP (Online). Retrieved 13 November 2019, from https://www.erc.or.th/ERCSPP.
Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Ministry of Energy. (2018). Thailand Power Development Plan 2018-2037 (PDP2018)(Online). Retrieved 13 September 2019, from https://www.eppo.go.th/power/PDP2018/PDP2018.pdf.
Department of Alternative Energy Development and Efficiency, Ministry of Energy.(2015). Thailand Power Development Plan 2015-2036 (PDP2015)(Online). Retrieved 15 December 2015, from https://www.eppo.go.th/power/PDP2015/PDP2015.pdf.
Manomaiphiboon, K., Prabamroong, A., Chanaprasert, W., Rajpreeja, N., & Tung, P.T.(2010). Wind resource assessment using advanced atmospheric modeling and GIS analysis: final report. Bangkok: Thailand Research Fund.
Janjai, S., Masiri, I., Promsen, W., Pattarapanitchai, S., Pankaew, P., Laksanaboonsong, J., Bischoff-Gauss, I., & Kalthoff, N. (2014). Evaluation of wind energy potential over Thailand by using an atmospheric mesoscale model and a GIS approach. Journal of Wind Engineering and Industrial Aerodynamics, 129, 1–10.
Waewsak, J., Landry, M., & Gagnon, Y. (2013). High resolution wind atlas for Nakhon Si Thammarat and Songkhla provinces, Thailand. Renewable Energy, 53, 101–110.
Chiwamongkhonkarn, S., Waewsak, J., & Chaichana, T. (2014). Wind Resource Potential at Pak Panang and Chian Yai Districts of Nakhon Si Thammarat Province. Thaksin University Journal, 17(1), 13–20.
Waewsak, J., Landry, M., & Gagnon, Y. (2015). Offshore wind power potential of the Gulf of Thailand. Renewable Energy, 81, 609–626.
Chancham, C., Waewsak, J., & Gagnon, Y. (2017). Offshore wind resource assessment and wind power plant optimization in the Gulf of Thailand. Energy, 139, 706–731.