การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข

Main Article Content

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาเป็นรูปแบบการวิจัยที่นิยมใช้ในการวิจัยทางสาธารณสุข และการเลือกใช้วิธีทางสถิติ ในการกำหนดขนาดตัวอย่างเป็นวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอต่อการตอบคำถามวิจัย และที่สำคัญ คือ การอ้างอิงผลการวิจัยสู่ประชากรที่ศึกษา องค์ประกอบพื้นฐานในการพิจารณาการกำหนดขนาด ตัวอย่าง ประกอบด้วย ระดับความเชื่อมั่น ความแปรปรวน และระดับความแม่นยำ วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่าง จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ การประมาณค่าสัดส่วนและการประมาณค่าเฉลี่ย ในกรณีทราบประชากรและไม่ทราบ ประชากร นอกจากนี้ ยังมีสูตรการปรับขนาดตัวอย่างเพื่อลดปัญหาการตอบกลับของแบบสอบถามที่ไม่ สมบูรณ์ อีกทั้ง บทความนี้ได้แสดงวิธีการคำนวณจากตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขศาสตร์อย่างละเอียด โดยสรุปการพิจารณาการกำหนดขนาดตัวอย่างเป็นวิธีทางสถิติที่สำคัญเพื่อใช้ในการคำนวณหาขนาด ตัวอย่างที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อการอ้างอิงผลการศึกษาสู่กลุ่มประชากร และ ประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานสาธารณสุขต่อไป

 

Sample Size Determination in Descriptive Study in Public Health

Bhunyabhadh Chaimay1*

Descriptive study is frequently used in public health research. Choosing an appropriate statistical method is to determine sample size yielded appropriate and sufficient number of samples into the study. It is an importance to answer research question in order to generalize results to the study population. The basic components of sample size determination comprise of confidence level, degree of variability and precision level. The methods of sample size determination are classified into 2 majors including; estimation of proportion and estimation of mean. Both methods are considered and used in both known and unknown populations. In case, sample size adjustment is used to minimize the incomplete information of questionnaires and low respond rate. In addition, this article presents examples related to public health in order to elucidate the method of calculation accurately. In summary, sample size determination is an important statistical method to yield appropriate and sufficient sample size in descriptive study in order to be generalized and applied in further study.

Article Details

Section
Research Articles