ความสำเร็จของเครือข่ายชุมชนอินแปงจากการมีส่วนร่วมในการบรรเทาสภาวะโลกร้อนผ่านทางภาคป่าไม้

Main Article Content

ธีรวงศ์ เหล่าสุวรรณ
พรชัย อุทรักษ์
อุษา กลิ่นหอม
ชาลี นาวานุเคราะห์
เชษฐพงษ์ บุตรเทพ
เจ เอช สาเม็ก
เดวิด แอล สโคล

Abstract

โครงการธนาคารคาร์บอนอินแปงเป็นโครงการวิจัยด้านการชดเชยคาร์บอนจากภาคป่าไม้ที่มีเกษตรกรเครือ ข่ายชุมชนอินแปงในห้าจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช), มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท (Michigan State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา และเครือข่ายเกษตรกรชุมชนอินแปง ภายใต้โครงการนี้ทีมงาน วิจัย และเกษตรกรได้ทำการตรวจวัดชีวมวลของต้นไม้ทางภาคสนาม รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการรับรู้ระยะ ไกล (Remote Sensing), ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) และพัฒนาระบบฐาน ข้อมูลเชิงพื้นที่ ในการจัดทำบัญชีคาร์บอนภาคป่าไม้สำหรับประเทศไทย เสนอต่อตลาดแลกเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ โลกแห่งนครชิคาโก (Chicago Climate Exchange: CCX) สามารถคำนวณปริมาณคาร์บอนและประเมินมูลค่าเครดิต จากพื้นที่จำนวน 625 ไร่ ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ คิดเป็นเครดิตได้ 75,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบ เท่า ขายได้ในราคาตันละ 4.25 เหรียญสหรัฐรวมเป็นจำนวนเงินที่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจากเครือข่ายชุมชน อินแปงได้รับคือ 37,000 เหรียญสหรัฐหรือประมาณหนึ่งล้านบาทกว่าสำหรับการขายคาร์บอนใน 2 ปี คือปี พ.ศ.2553 ถึง พ.ศ.2554 ซึ่งนับว่าเป็นการขายคาร์บอนเครดิตจากภาคป่าไม้ครั้งแรกของประเทศไทยและอาเซียน

 

The Achievement of Inpang Community Network under Participation in Global Warming Mitigation through Forest Sector

Teerawong Laosuwan1*, Pornchai Uttaruk2, Usa Klinhom2, Charlie Navanugraha3, Chetphong Butthep4, Jay H. Samek5, and David L. Skole5

The carbon credit of Inpang is the research project on carbon credit accreditation with farmer’s network from five provinces from the Northeast of Thailand joining the project; and it is also the collaboration between Faculty of Sciences, Mahasarakham University, National Research Council of Thailand (NRCT), Michigan State University from the USA, and Inpang’s Farmer Network. Under this research scheme, the research team and farmers have conducted an intensive study on the biomass of the trees in the targeted area, and it is also included the application of the Remote Sensing Technology and GIS and the research team has also developed the database system of the studied area being used for the preparation of Carbon Credit Accounting of Thailand to present to the Chicago Climate Exchange in Chicago, the USA. As a result, 75,000 tons of carbon credit calculated out of the 625 rais of the farmers joining the project. The carbon credit can be then sold in the market for 4.25 US dollars and the farmer’s network of In-Pang has received the amount of 37,000 US dollars or approximately 1,000,000 baht for the sold carbon credit during the year 2009 and 2010. This is the first carbon credit sale for Thailand and for ASEAN countries.

Article Details

Section
Research Articles