การอนุรักษ์ภูมิปัญญาการจับผึ้งหลวงเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านถ้ำพระพุทธ รอยต่อระหว่างจังหวัดตรัง และจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร
วัฒนณรงค์ มากพันธ์
วิชุดา กล้าเวช
นันทิดา สุธรรมวงศ์
เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภูมิปัญญาการจับผึ้งหลวง Apis dorsata F. (Hymenoptera: Apidae) และแนวทางการ อนุรักษ์เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของพรานผึ้งชุมชนบ้านถ้ำพระพุทธซึ่งเป็นชุมชนรอยต่อระหว่างจังหวัดตรัง และนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ภูมิปัญญาการจับผึ้งหลวงเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ของชุมชนถ้ำ พระพุทธ และ 2) ประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของน้ำผึ้งในชุมชนบ้าน ถ้ำพระพุทธเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ แบบมีส่วนร่วมจากชาวบ้านในพื้นที่ศึกษาโดยใช้แบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาการจับผึ้งหลวงมีการปฏิบัติมาอย่างยาวนานและมีบทบาทสำคัญต่อชุมชนบ้านถ้ำพระพุทธซึ่งประกอบด้วยบุคคลผู้มีประสบการณ์และต้องทำงานเป็นทีม โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสังเกตฤดูกาล การติดตามค้นหาผึ้งหลวง การเตรียมอุปกรณ์ วิธีการขึ้นจับผึ้งหลวง การแสดงความเป็นเจ้าของ และความเชื่อของ พรานผึ้ง นอกจากนี้จากการประเมินมูลค่าของน้ำผึ้งหลวงด้วยวิธีราคาตลาดพบว่า การจับผึ้งหลวงสามารถสร้างราย ได้สุทธิให้แก่ชุมชนปีละ 71,917 บาท องค์ความรู้ที่ชาวบ้านนำมาใช้เป็นองค์ความรู้ที่บรรพบุรุษสร้างไว้โดยผ่านการ สังเกต ทดลอง ประยุกต์ จดจำ และมีการถ่ายทอดมาจากอดีตผ่านรุ่นสู่รุ่น และภายในตัวองค์ความรู้นั้นยังมีการสอด แทรกแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ทรัพยากรผึ้งยังคงมีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตลอดไป

 

Conservation of Local Wisdom on Bees Hunting for Sustainable Utilization: Case Study at Pra Buddha Cave Community a Boundary between Trang and Nakhon Si Thammarat Province.

Tiptiwa Sampantamit1*, Wattananarong Markphan2, Wichuda Klawech1, Nantida Sutummawong1, and Saowalak Roongtawanreongsri3

This research focused on local wisdom of the giant honeybee, Apis dorsata F. (Hymenoptera: Apidae) hunting and a guidelines for conservation of honeybee hunters at Pra-Buddha Cave Community, a boundary between Trang and Nakhon Sri Thammarat provinces. The purposes of this study were 1) to study the local wisdom of the giant honeybee hunting for sustainable utilization and 2) to asses an economic value of the giant honeybee. The research was done by using questionnaire, interviews, focus group discussion, and participating observation from honeybee hunters. The results of the research found that the giant honeybee hunting in Pra-Buddha Cave community has been practiced and plays a vital role in community. Furthermore, the honeybee hunters who had knowledge and experience need to be teamwork started from observation of reason, tracking, equipment preparation, method of the giant honeybee hunting, belonging to the giant honeybee and hunter’s beliefs. In addition, the economic value of the giant honeybee in Pra-Buddha Cave community was calculated using market price and the result of evaluation the giant honeybee showed 71,917 baht per year. The intellectual of the giant honeybee hunting is one of activities that from part of the ancient culture. It is reflected by the nature of observation, test, application, recollection, and instruction in the living. Particularly, in the local knowledge can be used to create g uidelines for conservation and sustainable utilization of the giant honeybee in the future.

Article Details

Section
Research Articles