รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพนักงานตีเหล็ก กลุ่มตีเหล็กตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

Main Article Content

นุชรัตน์ มังคละคีรี
อนันตศักดิ์ พันธุ์พุฒ
เทพพนม อินทรีย์
สมฤกษ์ กาบกลาง
ศิริลักษ์ ใจช่วง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษาครั้งนี้คือคนทำงานตีเหล็ก โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการสร้าง เสริมสุขภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม ของพนักงานตีเหล็ก กลุ่มตีเหล็กตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม คือ 1) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของพนักงานเอง โดยพนักงานตีเหล็กมีวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า ต้องได้รับ ปลอดภัยจากการทำงาน สร้างข้อตกลงร่วมกันในการปรับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 2) การสร้างสภาพการณ์ ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพโดยพนักงานตีเหล็กมีการสร้างนโยบายในสร้างเสริม สุขภาพร่วมกัน คือ การดูแลสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยยึดหลัก 5 ส. และ 3) การสนับสนุน ส่งเสริมจากหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง พบว่า พนักงานตีเหล็กต้องการการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการ สร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันอันตรายจากการทำงาน ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าสอดคล้องกับแนวคิดใน การสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ที่ประกอบด้วย 5 ประการคือ การสร้างนโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ (Build healthy public) การสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (Create supportive environment) การเสริมสร้างกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง (Strengthen community action) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skills) และการปรับระบบบริการสาธารณสุข (Reorient Health Services)

 

Health Promotion Model by Community’s Participation: A Case Study at Blacksmith; Blacksmith Groups, Nathon Sub-district, That Phanom District, Nakhon Phanom Province

Nutcharat Mangklakeree1* Anantasak Panput1 Thephanom Insee2 Somroeg Kabklang3 And Sirilux Jaichuan4

This study was conducted with the objective of studying health promotion models with community participation in a sample group composed of blacksmiths by using participatory action research. According to the findings, health promotion models with community participation by blacksmith groups in Nathon, That Phanom, Nakhon Phanom were: 1) Adjustment of employees’ health promoting behaviors with the shared vision among blacksmiths to practice occupational safety and create joint agreements for health promoting behavior modification; 2) Creating work conditions or environments to facilitate health promotion with blacksmiths jointly creating health promotion policies by maintaining orderly work environments with adherence to principles and 3) Support and promotion from other related agencies. The blacksmiths were found to want training and transfer of knowledge in health promotion and occupation hazard prevention, which was found to be consistent with health promotion concepts after consideration in line with the Ottawa Charter which had five items comprising forming healthy public health policies, creating supportive environments, strengthening community actions, developing interpersonal skills and re-orienting health services.

Article Details

Section
Research Articles