โครงสร้างและสมบัติของวัสดุเชิงประกอบชีวภาพจากกลูเตนข้าวสาลีเสริมแรงด้วยเถ้าไม้ยางพารา

Main Article Content

Munlika Bootklad
Katalin Meszaros Szecsenyi
Kaewta Kaewtatip

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาวัสดุเชิงประกอบชีวภาพจากกลูเตนข้าวสาลีเสริมแรงด้วยเถ้าไม้ยางพาราในอัตราส่วน 5  10  15 และ 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของกลูเตนข้าวสาลี และใช้กลีเซอรอลเป็นพลาสติไซเซอร์ ขึ้นรูปด้วยเครื่องกดอัดทางความร้อนที่ความดัน 250 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร อุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที ศึกษาอิทธิพลของเถ้าไม้ยางพาราที่มีผลต่อโครงสร้างทางสัณฐานวิทยา สมบัติเชิงกล และสมบัติทางความร้อนของวัสดุเชิงประกอบชีวภาพ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เครื่องทดสอบความต้านทานต่อแรงดึง และเครื่องเทอร์โมกราวิเมทริกแอนาไลเซอร์ ตามลำดับ พบว่าวัสดุเชิงประกอบชีวภาพจากกลูเตนข้าวสาลีที่ผสมเถ้าไม้ยางพาราในอัตราส่วน 20 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มีค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดคือ 4.19 เมกกะปาสคาล แต่พบว่าเมื่อปริมาณของเถ้าไม้ยางพาราเพิ่มขึ้น ค่าระยะยืด ณ จุดขาด มีค่าลดลง และนอกจากนี้เถ้าไม้ยางพาราสามารถปรับปรุงเสถียรภาพทางความร้อนของพลาสติกชีวภาพจากกลูเตนข้าวสาลี

Article Details

บท
บทความวิจัย