ตัวแบบพยากรณ์ปริมาณการส่งออกแป้งมันสําปะหลัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ การสร้างตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมกับอนุกรมเวลาปริมาณการส่งออก แป้งมันสําปะหลัง โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ถึงเดือน มกราคม 2558 จํานวน 133 ค่า ซึ่งข้อมูลถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด ข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 จํานวน 126 ค่า สําหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กําลัง ของวินเทอร์แบบคูณ และวิธีการแยกส่วนประกอบอนุกรมเวลา ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 ถึงเดือน มกราคม 2558 จํานวน 7 ค่า นํามาใช้สําหรับการเปรียบเทียบความแม่นของค่าพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย และเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ยที่ต่ําที่สุด ผลการศึกษาพบว่า จากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษา วิธีที่มีความแม่นมากที่สุด คือ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กําลังของวินเทอร์ แบบคูณ