ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาช้าง (Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs. ) ในการป้องกันการดูดเลือดของยุงลาย (Aedes aegypti L.)

Main Article Content

มนัสวี พัฒนกุล
สนั่น ศุภธีรสกุล
สุนทร พิพิธแสงจันทร์

Abstract

ได้ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันเมล็ดสะเดาช้าง สารสกัดหยาบจากเมล็ดสะเดาช้าง และน้ำมันตะไคร้หอม  ในการป้องกันการดูดเลือดและการทำให้ยุงลายตกสู่พื้น โดยวิธีทาผิวหนัง เครื่องไล่ยุงไฟฟ้าแบบแผ่นแมทฟอยด์ และยาจุดกันยุง ผลการทดลองพบว่า น้ำมันตะไคร้หอม 20% น้ำมันเมล็ดสะเดาช้าง 15% และสารสกัดหยาบ จากเมล็ดสะเดาช้าง 10% ป้องกันการดูดเลือดของยุงลายได้นาน 270, 90 และ 60 นาที ตามลำดับ เมื่อนำสารดังกล่าว ผสมกับ vanillin 5% พบว่าสามารถป้องกันการดูดเลือดของยุงลายได้นานขึ้นเป็น 360, 210 และ 120 นาที ตามลำดับ  ส่วนผสมที่ประกอบด้วยน้ำมันเมล็ดสะเดาช้าง (10%) น้ำมันตะไคร้หอม (10%) และ vanillin (5%) และส่วนผสมที่ ประกอบด้วยสารสกัดหยาบจากเมล็ดสะเดาช้าง (10%) น้ำมันตะไคร้หอม (10%) และ vanillin (5%) ป้องกันการดูดเลือด ของยุงลายได้นาน 300 และ 270 นาที ตามลำดับ ส่วนผสมที่ประกอบด้วยน้ำมันเมล็ดสะเดาช้าง (5%) น้ำมันตะไคร้หอม  (5%) และส่วนผสมที่ประกอบด้วยสารสกัดหยาบจากเมล็ดสะเดาช้าง (5%) น้ำมันตะไคร้หอม (5%) สามารถป้องกัน การดูดเลือดของยุงลายได้นาน 60 นาทีเท่ากัน ในการทดลองโดยใช้เครื่องไล่ยุงไฟฟ้าแบบแผ่นแมทฟอยด์ พบว่า  น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันเมล็ดสะเดาช้าง และสารสกัดหยาบจากเมล็ดสะเดาช้าง ที่ความเข้มข้น 25% ทำให้ยุงลายตกสู่พื้น ได้ 46.3%, 18.8% และ 7.5% ตามลำดับ ส่วนผสมที่ประกอบด้วยน้ำมันเมล็ดสะเดาช้าง (5%) น้ำมันตะไคร้หอม (5%)  และส่วนผสมที่ประกอบด้วยสารสกัดหยาบจากเมล็ดสะเดาช้าง (5%) น้ำมันตะไคร้หอม (5%) ให้ผลในการทำให้ยุงลาย ตกสู่พื้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในขณะที่การทดลองในรูปยาจุดกันยุง น้ำมันเมล็ดสะเดาช้าง สารสกัดหยาบจากเมล็ด สะเดาช้าง และน้ำมันตะไคร้หอม ไม่สามารถทำให้ยุงลายตกสู่พื้นได้

Article Details

Section
Research Articles