การใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในปลานิลแดงแปลงเพศที่ได้รับอาหารที่มีปลาป่นต่ำ

Main Article Content

วุฒิพร พรหมขุนทอง
วรากรณ์ สีจง

Abstract

          การทดลองนี้เป็นการศึกษาการใช้ประโยชน์จากฟอสฟอรัสในปลานิลแดงแปลงเพศ โดยศึกษาในตู้กระจก ขนาด 235 ลิตร ที่มีปริมาตรน้ำ 180 ลิตร ระบบน้ำเป็นแบบปิด แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลองๆ ละ 4 ซ้ำ โดยใช้ปลานิลแดง แปลงเพศน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้นตัวละ 12 กรัม จำนวน 20 ตัวต่อซ้ำ ให้อาหารทดลองวันละ 2 มื้อ ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด กำหนดให้สูตรอาหารทุกสูตรมีระดับโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 7 เปอร์เซ็นต์ พลังงานที่ย่อยได้ 3,200 กิโลคาลอรี/อาหาร 1 กิโลกรัม โดยสูตรที่ 1 เป็นสูตรควบคุมโดยใช้ปลาป่นใน อาหารสูงคือ 36.5 เปอร์เซ็นต์ สูตรที่ 2 ใช้ปลาป่นลดลงครึ่งหนึ่งของปลาป่นในสูตรที่ 1 คือ 18 เปอร์เซ็นต์ และ เสริมวัตถุดิบพืชทดแทน สูตรที่ 3 ลดปริมาณปลาป่นลงครึ่งหนึ่งของสูตรที่ 2 คือใช้ปลาป่น 9 เปอร์เซ็นต์ และ เสริมวัตถุดิบจากพืช และสูตรที่ 4 ใช้วัตถุดิบจากพืชทั้งหมด โดยอาหารแต่ละสูตรจะถูกปรับให้มีระดับของ ฟอสฟอรัสรวมในอาหารใกล้เคียงกัน หลังจากเลี้ยงปลาเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า การลดระดับปลาป่นใน อาหารไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลานิลแดงแปลงเพศ อย่างไรก็ตามในชุดการ ทดลองที่ 4 ซึ่งใช้วัตถุดิบจากพืชทั้งหมด ปลามีน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัว, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเจริญเติบโตต่อ วัน ต่ำกว่าชุดการทดลองที่ 1, 2 และ 3 (p<0.05) ค่าสัมประสิทธิ์ การย่อยฟอสฟอรัสลดลงโดยแปรผันตรงกับ ระดับวัตถุดิบพืชที่เสริมในอาหาร (p<0.05) ส่วนฟอสฟอรัสที่สะสมในตัวปลามีค่าต่ำที่สุดในปลาที่ได้รับอาหารเสริม วัตถุดิบพืชโดยไม่ใช้ปลาป่น (สูตรที่ 4) ส่วนปลาที่ได้รับอาหารสูตรที่ 1-3 มีค่าดังกล่าวไม่แตกต่างกัน (p<0.05) ปริมาณฟอสฟอรัสที่ถูกขับทิ้งของปลาที่ได้รับอาหารสูตรที่ 1 (ปลาป่นสูงสุด) และสูตรที่ 4 วัตถุดิบพืชอย่างเดียว มีค่าสูงกว่าปลาที่ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของปลาป่นและวัตถุดิบพืชในสูตรที่ 2 และ 3

Article Details

Section
Research Articles