ปัญหาการใช้น้ำทิ้งจากโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราที่ผ่านการบำบัดด้วยปฏิกิริยาเฟนตันเป็นแหล่งธาตุอาหารพืช

Main Article Content

เจษฎา จิตรหลัง
จำเป็น อ่อนทอง
ลือพงศ์ แก้วศรีจันทร์
อัจฉรา เพ็งหนู

Abstract

น้ำทิ้งจากโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราที่ผ่านการบำบัดด้วยปฏิกิริยาเฟนตัน มีธาตุ B, S,  และ Ca ซึ่งเป็นธาตุ อาหารที่มีประโยชน์สำหรับพืช จึงได้ศึกษานำน้ำทิ้งมาใช้เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช โดยแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ (1) ศึกษาผลของน้ำเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยปลูกต้นกล้ามะเขือเทศอายุ 30 วันในชุดดินคอหงส์ 5 กก. และ ให้น้ำเสียในอัตราต่างๆ วางแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ (CRD) มี 6 ตำรับการทดลอง 4 ซ้ำ คือ ให้น้ำเสีย ปริมาตร 0, 5, 10, 20, 40 และ 100 มล. โดยนำน้ำเสียตามตำรับการทดลองมาเติมน้ำกลั่นจนมีปริมาตร 500 มล. แล้วแบ่งรดมะเขือเทศ 2 ครั้ง 2) ศึกษาธาตุที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 6 ตำรับการทดลอง 4 ซ้ำ คือ ไม่ให้น้ำเสีย (Control) ให้น้ำเสีย 100 มล. (+WW) และให้ธาตุอาหารที่ใช้ทดสอบมีปริมาณธาตุเท่ากับ ในน้ำเสีย 100 มล. คือ โบรอน (+B) กำมะถัน (+S) แคลเซียม (+Ca) และโซเดียม (+Na) ผลการทดลอง พบว่า การให้น้ำเสียที่ปริมาตรเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะการให้น้ำเสีย 40 และ 100 มล. ทำให้การเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ลดลงและพืชตาย โดยมีโบรอนในพืชมากถึง 1,171 และ 2,265 มก./กก. และการให้ +WW และ +B ทำให้ต้นมะเขือเทศมีอาการขอบใบไหม้และตายในลักษณะเดียวกันกับการให้น้ำเสีย 100 มล. (การทดลองที่ 1) และมีโบรอนในพืชถึง 2,700 และ 1,867 มก./กก. ในขณะที่ตำรับการทดลอง +S, +Ca และ +Na การเจริญเติบโตของพืช ทั้งน้ำหนักแห้ง จำนวนใบ และโบรอนในพืชใกล้เคียงกับไม่ให้น้ำเสีย ดังนั้นหากนำน้ำเสียมาใช้กับการปลูก มะเขือเทศ ควรใช้น้อยกว่า 4 มล./กก. ดิน หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้เกิดปัญหาความเป็นพิษเนื่องจากโบรอนได้

Article Details

Section
Research Articles