ค่าทางชีวเคมีคลีนิคของเลือด และลักษณะอาการที่ปรากฎบางประการของลูกโคที่เลี้ยงด้วยน้ำนมหมักกรด

Main Article Content

สันทน์สิริ เหรียญทอง
สุรพล ชลดำรงกุล
ไชยวรรณ วัฒนจันทร์
สุธา วัฒนสิทธิ์

Abstract

       The objective of this study was to evaluate the value of some serum biochemistry and some clinical sign of calves after fed acidified whole milk. Six male Holstein-Friesian 75% crossbred calves with an initial weight 38 to 42 kg. were equally allotted into 2 groups under compare means by T-test for 90 days. Group 1 received acidified whole milk and group 2 received milk replacer and ad libitum of water was provided. There were no significant different (P>0.05) in pH, BUN, glucose, GOT and GPT but significant different (P<0.05) in creatinine (0.86 and 1.07 mg %) and ALP (406.25 and 784.48 U/L), respectively. Calves in both groups showed clinical sign of hair licking, hairball in stomach and alopecia. There was alopecia in group 1 more than group 2. Hairball in group 2 was heavier than group 1 (P<0.05) (26.33 vs 16.24 g.); size of hairball in group 2 was greater than group1 (P<0.01) (3.80 vs 3.01 cm.) and amount of hairball in group 1 was more than group 2 (P<0.01) (123 vs 46). Acidified whole milk fed calves needed a longer time to consume was daily amount of milk than milk replacer fed calves. And there were no any incidences of scouring and gingivitis cases during 90 days of experiment.

       วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อประเมินค่าทางชีวเคมีคลินิกของเลือดและลักษณะอาการทางคลีนิก ที่ปรากฏบางประการของลูกโคที่เลี้ยงด้วยน้ำนมหมักกรดโดยใช้โคนมลูกผสมเพศผู้ที่มีสายเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชียน ในระดับ75เปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง38-42กิโลกรัมนำมาทดลองโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบT-testโดยแบ่งลูกโคออกเป็น2กลุ่มๆละ3ตัวกลุ่มที่1ได้รับน้ำนมหมักกรดและกลุ่มที่2ได้รับน้ำนมเทียมลูกโคทั้งสองกลุ่ม มีน้ำให้กินตลอดเวลาจากการทดลองพบว่ามีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างค่าpH,BUN,glucose,GOTและGPTในเลือดของลูกโคทั้งสองกลุ่ม(P>0.05)และพบว่ามีค่าcreatinineเท่ากับ0.86และ1.07มิลลิกรัม เปอร์เซ็นต์และค่าALPมีค่าเท่ากับ406.25และ784.48ยูนิตต่อลิตร(P<0.05)ตามลำดับลูกโคทั้งสองกลุ่มมีการ เลียและกินขนจึงพบhairballภายในกระเพาะอาหารและพบอาการขนร่วงโดยลูกโคในกลุ่มที่ได้รับน้ำนมหมักกรดจะ แสดงอาการขนร่วงมากกว่าลูกโคในกลุ่มที่ได้รับน้ำนมเทียมน้ำหนักของhairballในกลุ่มที่2มีน้ำหนักมากกว่าในกลุ่มที่1คือมีค่าเท่ากับ26.33และ16.24กรัม(P<0.05)ขนาดของhairballในกลุ่มที่2มีขนาดใหญ่กว่าในกลุ่มที่1คือมีค่าเท่ากับ3.80และ3.01เซนติเมตร(P<0.01)และจำนวนของhairballในกลุ่มที่1มีจำนวนมากกว่าในกลุ่มที่2คือมีค่าเท่ากับ123และ46ก้อน(P<0.01)และพบว่าลูกโคในกลุ่มที่ได้รับน้ำนมหมักกรดจะใช้เวลาในการกินน้ำนมมากกว่าลูกโคในกลุ่ม ที่ได้รับน้ำนมเทียมและไม่พบว่าลูกโคทั้งสองกลุ่มแสดงอาการท้องเสียหรือแสดงอาการเหงือกอักเสบตลอด ระยะเวลาการทดลอง90วัน 

Article Details

Section
Research Articles